การศึกษาของสิงคโปร์
วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2556
ระบบการศึกษาในสิงคโปร์
วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556
หมากฝรั่งทำมาจากอะไรกันนะ?
ที่คนพื้นเมืองในอเมริกากลางเรียกกันว่า ต้นชิกเคิล แต่ใน ปัจจุบันนิยมทำจากยางธรรมชาติ หรือยางสังเคราะห์ ซึ่งเป็นโพลิเมอร์ที่มีลักษณะอ่อนนิ่ม ข้น เหนียว ไม่มีสี กลิ่น ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ส่วนผสมอื่นๆ ที่ใช้ทำหมากฝรั่งได้แก่ สารเคมีที่ทำให้ยางเหนียวนุ่ม สารเติมแต่งรสชาติ กลิ่น สีสังเคราะห์ เกร็ดมิ้นท์ และสารกันเสีย ซึ่งหมากฝรั่งที่ไม่มีน้ำตาลก็นิยมใส่สาร แอสปาแตม และไซลิทอล หรือสารให้ความหวาน
เคล็ดลับการดำรงชีวิตในญี่ปุ่น
เคล็ดลับการดำรงชีวิตในญี่ปุ่น
ขอเชิญทุกท่านอ่านบทความสั้น ๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียม และมารยาทในสังคม ท่านอาจได้พบคำตอบในสิ่งที่สงสัยมานาน
บทเรียนบทที่ 50 sasete itadakimasu สำนวนแสดงความถ่อมตัวของกริยา shimasu ซึ่งแปลว่า "ทำ"
ในการสนทนาของคนญี่ปุ่นสมัยปัจจุบันนี้ มักมีสำนวน sasete itadakimasu ปรากฏออกมา ดูเหมือนมีคนมากขึ้นคิดว่า พอพูด sasete itadakimasu แค่นี้ก็สุภาพดี เช่น ในช่วงต้นของการประชุม พูดว่า setsumei sasete itadakimasu หรือ "ขอความกรุณาให้ได้อธิบาย" ซึ่งอันที่จริง พูดแค่ว่า setsumei shimasu หรือ "จะอธิบาย" ก็เพียงพอแล้ว
นอกจากนี้ ที่ทางเข้าร้านค้า บางทีจะเห็นป้ายเขียนว่า jūji kara eigyô sasete itadakimasu แปลตามตัวอักษรคือ "ขอความกรุณาให้เราเปิดทำการตั้งแต่ 10 นาฬิกา" นี่ก็เป็นการใช้ที่ผิด
อย่างไรก็ตาม ภาษาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ต่อไปวิธีการพูดแบบนี้อาจได้รับการยอมว่าเป็น "ภาษาญี่ปุ่นที่ถูกต้อง" เข้าสักวันหนึ่งก็ได้
บทเรียนบทที่ 49 การอาบน้ำ
ในห้องอาบน้ำที่บ้านของคนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มีอ่างอาบน้ำด้วย อ่างจะมีขนาดที่พอให้ชายวัยผู้ใหญ่สามารถนั่งเหยียดขาออกไปและแช่น้ำน้ำร้อนท่วมถึงไหล่ได้ น้ำร้อนในอ่างนั้น ทุกคนในบ้านจะใช้ร่วมกัน ดังนั้น ก่อนลงไปแช่ จะต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดเสียก่อน
คนญี่ปุ่นไม่เพียงแต่ลงแช่น้ำในอ่างที่บ้านเท่านั้น แต่ยังไปใช้บริการบ่อน้ำแร่ร้อนกันอยู่บ่อย ๆ ด้วย การไปเที่ยวโดยมีจุดมุ่งหมายว่าจะไปบ่อน้ำแร่ร้อน เรียกว่า onsen ryokô ที่พักบางแห่งมีบ่อน้ำแร่ร้อนให้บริการอยู่กลางแจ้งเพื่อให้ชมทิวทัศน์ภายนอกได้ด้วย บ่อน้ำร้อนแบบนั้นเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า rotenburo ซึ่งให้ความรู้สึกโล่งสบายไปหมด จึงเป็นที่นิยม
บทเรียนบทที่ 48 อาหารการกินตามฤดูกาล
ญี่ปุ่นมี 4 ฤดู แต่ละฤดูมีอาหารประจำฤดู มาทำความรู้จักอาหารประจำฤดูกันจำนวนหนึ่ง
อาหารที่เป็นตัวแทนของฤดูใบไม้ผลิคือ "หน่อไม้" และ "ปลาโอที่จับได้ชุดแรกของปี"
สำหรับฤดูร้อน คนญี่ปุ่นมักทาน "แตงกวา" และ "ปลาไหล" แตงกวาจะช่วยบรรเทาความร้อนของร่างกายที่รู้สึกร้อนผ่าว และมองกันว่าเป็นผักชนิดสำคัญที่ช่วยป้องกันโรคลมเหตุร้อน
ในฤดูใบไม้ร่วง มีคำกล่าวว่าเป็น "ฤดูใบไม้ร่วงแห่งการเจริญอาหาร" ที่กล่าวกันอย่างนี้ก็เพราะช่วงนี้เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตที่เป็นวัตถุดิบอาหาร ซึ่งจะมีออกมามากมาย เช่น ลูกพลับ ปลาซัมมะ เห็ด เป็นต้น
สำหรับฤดูหนาว มักจะทาน "หัวไชเท้า" และ "ปลาทะระ" เพื่อให้ช่วยรักษาความอบอุ่นแก่ร่างกาย
บทเรียนบทที่ 47 สินค้าขึ้นชื่อ
ประเทศญี่ปุ่นเป็นหมู่เกาะที่ทอดตัวยาวในแนวเหนือใต้ ภูมิอากาศจึงแตกต่างกันอย่างมากตามแต่ละภูมิภาค มีทัศนียภาพประจำ 4 ฤดูกาลที่เปี่ยมไปด้วยความน่าชม และแต่ละพื้นที่ก็มีผลิตภัณฑ์เกษตรและสินค้าขึ้นชื่อเฉพาะพื้นที่ด้วย
จังหวัดชิซุโอะกะซึ่งอยู่ที่เชิงเขาของภูเขาฟูจิ มีชาเป็นสินค้าขึ้นชื่อประจำถิ่นและผลิตชาได้มากที่สุดในญี่ปุ่น นอกจากนี้ เนื่องจากจังหวัดนี้อยู่ติดทะเล จึงอุดมไปด้วยผลิตภัณฑ์สด ๆ จากทะเลมากมาย เช่น ลูกปลาซาร์ดีน และกุ้งซากุระ
แน่นอนว่าโตเกียวก็มีสินค้าขึ้นชื่อ หนึ่งในนั้นคือสาหร่ายซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับซูชิ สาหร่ายที่เก็บจากอ่าวโตเกียวขึ้นชื่อเรื่องความหวานและกลิ่นหอม
ปัจจุบัน ถ้าใช้บริการซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต จะสามารถเพลินใจไปกับสินค้าขึ้นชื่อจากทั่วญี่ปุ่นได้โดยสั่งให้ส่งมาถึงบ้าน แต่ความเพลินใจอันสูงสุดย่อมอยู่ที่การได้ไปยังสถานที่จริง และลิ้มรสของขึ้นชื่อเหล่านั้นตามฤดูด้วยตนเอง
บทเรียนบทที่ 46 ภูเขาฟูจิ
ฤดูกาลที่เหมาะสำหรับการปีนภูเขาฟุจิมากที่สุดคือเดือนกรกฎาคมกับเดือนสิงหาคม ในช่วงสองเดือนที่ว่านี้ จะมีคนมุ่งมั่นไปปีนภูเขาฟุจิจนถึงยอดมากกว่า 3 แสนคน ในจำนวนนี้ เกือบร้อยละ 30 เป็นชาวต่างชาติ แม้ว่าจะเป็นฤดูร้อนของญี่ปุ่น แต่พอขึ้นไปใกล้ ๆ ยอดเขาฟุจิซึ่งมีความสูง 3,776 เมตร อุณหภูมิจะลดวูบลง อากาศก็เปลี่ยนแปลงง่าย สิ่งที่จำเป็นต้องนำไปด้วย ได้แก่ อุปกรณ์กันฝน เครื่องกันหนาว น้ำ อาหารยามฉุกเฉิน นอกจากนี้ ยังต้องระวังเรื่องการเมาความสูงด้วย
สำหรับภูเขาฟูจิซึ่งเป็นที่นิยมของทุกคนไม่ว่าจะเพศใดวัยใด แต่เมื่อประมาณ 150 ปีก่อน ผู้หญิงไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นภูเขาฟุจิ แม้กระนั้นก็ตาม มีบันทึกระบุว่า ก่อนหน้านั้น ก็มีผู้หญิงแต่งตัวปลอมเป็นผู้ชายและผสมปนเปปีนขึ้นไปด้วย นี่แสดงว่า ยอดเขาฟุจิมีเสน่ห์เย้ายวนใจผู้คนมาตั้งแต่โบร่ำโบราณอันไกลโพ้นแล้ว
บทเรียนบทที่ 45 เงินใช้จ่ายส่วนตัวของพนักงานเงินเดือน
ไม่ทราบว่า ในครอบครัวของคุณผู้ฟัง ใครคือผู้กุมกระเป๋าสตางค์ประจำบ้าน? ครอบครัวญี่ปุ่นประมาณร้อยละ 70 ภรรยาคือผู้ดูแลรายรับรายจ่ายของบ้าน ดังนั้น เงินที่สามีสามารถนำไปใช้จ่ายได้อย่างอิสระจึงมีจำกัด
ผลการสำรวจว่าด้วย "เงินใช้จ่ายของพนักงานเงินเดือน" ซึ่งธนาคารแห่งหนึ่งเป็นผู้จัดทำมานานกว่า 30 ปี ชี้ว่า เงินใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยเมื่อปี 2553 ของพนักงานเงินเดือนญี่ปุ่นคือ เดือนละ 40,600 เยน กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ตอบการสำรวจระบุว่าใช้เงินนั้นในการ "ซื้ออาหารกลางวัน" และ "ใช้จ่ายเพื่องานอดิเรก"
จากวงเงินที่ใช้จ่ายได้อย่างจำกัด จำเป็นต้องแบ่งสรรอย่างมีทักษะเพื่อให้ใช้จ่ายได้ลงตัวไม่ใช่แค่ค่าอาหารกลางวันเท่านั้น แต่ต้องเจียดไว้เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการสังสรรค์เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานและสำหรับงานอดิเรกด้วย สำหรับคำถามที่ว่า "พยายามประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องอะไรมากที่สุด" ผู้ชายส่วนใหญ่ตอบว่า "ประหยัดค่าอาหารกลางวัน" ดูเหมือนว่า พนักงานเงินเดือนเหล่านี้นำข้าวกล่องไปทานเอง หรือไม่ก็เลือกร้านอาหารที่ถูกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้นั่นเอง. แล้วเจอกันไหมนะคะ^^