วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2557

วัดไข้ด้วยปรอท

                                        วัดไข้ด้วยปรอท
โดยทั่วไปแล้วเมื่อร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย อาการแสดงที่เราพบได้บ่อยในระยะแรก  คือการมีไข้ ตามปกติอุณหภูมิของร่างกายเราจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงระหว่าง 36-37 องศาเซลเซียส หรือมากกว่าไม่เกิน37.5 องศาเซลเซียส ถ้าสูงกว่านี้ถือว่ามีไข้ เครื่องมือที่ใชัวัดไข้เราเรียกว่า เทอร์โมมิเตอร์ หรือ ปรอท นั่นเอง
การวัดปรอทด้วยตัวเองคุณสามารถทำได้:การวัดปรอทให้ถูกวิธีขั้นตอนสำคัญคือ ก่อนวัดไข้คุณตัองสลัดปรอทให้อยู่ต่ำกว่า35องศาเซลเซียส ถือปรอทไว้ตามยาวระดับสายตา หันหนัาไปทางด้านที่มีแสงสว่างพลิกปรอทเล็กน้อยอ่านค่าสีเงินวาวบนลำปรอท
   - การวัดปรอททางปาก ให้อมปรอทไว้ใต้ลิ้นปิดปากให้สนิททิ้งไว้นาน 1-2นาที ไม่ควรวัดปรอทหลังดื่อน้ำร้อนหรือน้ำเย็นใหม่ๆ ต้องรออย่างน้อย15นาทีก่อนวัด ไม่นิยมวัดในเด็ก
   -การวัดปรอททางทวารหนัก มักใชัในเด็กเล็กหรือทารกแรกเกิด ให้นำปรอทที่หลีอลื่นด้วยเจลแล้วสอดเข้าทาวทวารหนักลึกประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยใช้มือซ้ายจับขาเด็กทั้งสองข้างไว้มือขวาจับปรอท วัดนาน 1-2 นาที
   -การวัดปรอททางรักแร้ กระเปาะปรอทต้องอยู่ด้านในกลางรักแร้ หุบรักแร้ให้สนิทโดยหนีบให้เฝแน่นนาน3-5นาที และบวกเพิ่มอีก0.5องศาเซลเซียส
นอกจากนี้ผู้ป่วยบางครั้งอาจมีอาการปวดศีรษะ ปวดตามตัว หนาวสั่น อ่อนเพลีย 
ซึม ในเด็กที่อายุต่ำกว่า6ปี อาจมีอาการชักได้เมื่อมีไข้สูงใบหน้า ลำตัวแดงผิดปกติ เป็นจุดแดงใต้ผิวหนังมักเรียกว่า ส่าไข้

วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2557

Glasgow

              กลาสโกว์

กลาสโกว์ (อังกฤษGlasgow ; แกลิค: Glaschu ; สก็อต: Glesca หรือ Glasgae) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำไคลด์ ชาวกลาสโกว์รู้จักกันในชื่อ กลาสวีเจียนส์(Glaswegians) นอกจากนี้กลาสวีเจียนส์ยังเป็นชื่อสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "Glasgow Patter"

เมืองกลาสโกว์นั้นถือเป็นเมืองใหญ่ในสหราชอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองและล้ำหน้ามากที่สุดเมืองหนึ่ง ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 16 เมืองกลาสโกว์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเป็นเมืองท่าใหญ่ของมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นในศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมเหล็ก การต่อเรือ และยานยนต์ได้เติบโตขึ้นจนเป็นผลทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามา ในที่สุด กลาสโกว์กลายเป็นเมืองที่สามของยุโรปที่มีจำนวนประชากรเกินหนึ่งล้านคน รองจากลอนดอนและปารีส และกลายเป็นเมืองสำคัญอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน

ในปัจจุบัน เมืองกลาสโกว์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการค้า ขายปลีก วิศวกรรม และอุตสาหกรรมต่อเรือ ของสก็อตแลนด์ นอกจากนั้นทางด้านต่างๆเช่นการเงินการธนาคาร กลาสโกว์เป็นเมืองทางการเงิน (Financial Centre) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของ UK โดยมี International Financial District (IFSD) ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทเงินทุนและธนาคารมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 8 ใน 10 แห่งของบริษัทประกันภัยใน UK มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองกลาสโกว์ บริษัททางการเงินขนาดใหญ่ของโลกเช่น เจพี มอร์แกน แบงค์บาร์เคล และมอร์แกน สแตนเลย์ ต่างก็มีสาขาตั้งอยู่ในบริเวณนี้

กลาสโกว์ยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากความหลากหลายของกิจกรรมที่สามารถหาทำได้ในเมืองใหญ่แห่งนี้ เช่น ช้อบปิ้ง sightseeing งานเทศกาล พิพิธภัณฑ์ ดูหนังฟังเพลง ด้วยความสวยงามของสถาปัตยกรรมบวกกับการที่มีศิลปินมากมายทำให้ในปี 1990 เมืองแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น เมืองแห่งสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของยุโรป (Europe’s City of Architecture & Culture) แหล่ง ช็อบปิ้งในกลาสโกว์นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เมืองกลาสโกว์มีมหาวิทยาลัยสามแห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ และ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ คาเลโดเนียน

Striling

                       Striling
สเตอร์ลิง
Striling
      Stirlingcastle.jpg
                    ปราสาทสเตอร์ลิง
      Stirlingmap1945.png
               แผนที่ตัวเมืองสเตอร์ลิง
บะระห์ (อดีต); รอยัลบะระห์ (อดีต); นคร
แขวงการปกครองสเตอร์ลิงและปริมณฑล
เมืองผู้แทนสเตอร์ลิงและฟอล์คเคิร์ค
ประชากร41,243 คน
เว็บไซต์http://www.Stirling.gov.uk/
พิกัดภูมิศาสตร์56°7′2″N 3°56′23″W / 56.11722°N 3.93972°W
เมืองในสกอตแลนด์ - เมืองในสหราชอาณาจักร
ระดับการปกครองของสกอตแลนด์

สเตอร์ลิง (ภาษาอังกฤษ: Stirling; ภาษาเคลลิคสกอตแลนด์: Sruighlea; ภาษาสกอตแลนด์: Stirlin) เป็นบะระห์โบราณ ที่ตั้งอยู่ในแขวงการปกครองสเตอร์ลิงและปริมณฑลในมณฑลผู้บริหารแทนพระองค์สเตอร์ลิงและฟอล์คเคิร์คในสกอตแลนด์ ตัวสเตอร์ลิงตั้งอยู่รอบปราสาทสเตอร์ลิงและเมืองโบราณจากยุคกลาง จากการสำรวจสำมโนประขากรใน ค.ศ. 2001 สเตอร์ลิงมีประชากรทั้งหมดประมาณ 41,243 คน สเตอร์ลิงเป็นศูนย์กลางของรัฐบาลท้องถิ่น, การศึกษา, การค้าขาย และการอุตสาหกรรมขนาดเบา

สเตอร์ลิงเป็นที่มั่นหลักแห่งหนึ่งของราชอาณาจักรสกอตแลนด์ และได้รับก่อตั้งให้เป็นรอยัลบะระห์(Royal burgh) โดยพระเจ้าเดวิดที่ 1 แห่งสกอตแลนด์ ในปี ค.ศ. 1130 และอยู่ในฐานะนั้นจนปี ค.ศ. 1975 เมื่อ, when the county ofมณฑลสเตอร์ลิงเชอร์ถูกรวมเข้ากับภาคกลาง ในปี ค.ศ. 2002 ในวโรกาสที่สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์พระราชทานฐานะของสเตอร์ลิงให้เป็น “นคร

เมืองสเตอร์ลิงเป็นเมืองหลวงเก่าของสก็อตแลนด์ซึ่งตั้งอยู่ล้อมรอบปราสาทสเตอร์ลิง พื้นที่นี้เป็นจุดเชื่อมระหว่าง Highland และ Lowland ของสก็อตแลนด์ ทำให้เมืองสเตอร์ลิงในสมัยก่อนนั้นถูกใช้เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายของคนในประเทศ และถูกเรียกว่า Market Town โดยมีเกษตรกรรมและการค้าขายปลีกเป็นธุรกิจหลักของคนในเมือง

เมืองสเตอร์ลิงเป็นเมืองที่มีการขยายขนาดอย่างรวดเร็ว โดยเมื่อไม่นานมานี้รัฐบาลของสก็อตแลนด์ได้มีการลงทุนสร้าง Business Park ที่มีมูลค่า 140 ล้านปอนด์ โดยภายในประกอบด้วยบริษัทต่างๆ แหล่งช้อบปิ้ง ศูนย์ศิลปะและ สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆมากมาย นอกจากจำนวนประชากรจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแล้ว จำนวนผู้มาเยือนเมืองสเตอร์ลิงในแต่ละปียังเพิ่งขึ้นมากอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากปีที่ผ่านมา สถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดเด่นของเมืองอย่าง ปราสาทสเตอร์ลิง มีผู้มาเยี่ยมชมถึงปีละ 4 แสนคน[1]


Scotland

                         Scotland

สกอตแลนด์ (อังกฤษScotlandแกลิกสกอตแลนด์Alba) เป็นชาติทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป และเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุม 1 ใน 3 ทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนตอนใต้ร่วมกับอังกฤษ ด้านตะวันออกติดทะเลเหนือ ด้านตะวันตกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองหลวงคือเอดินบะระ ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือกลาสโกว์

สกอตแลนด์มีขนาดประชากรเพียงหนึ่งในสามและประชากรเพียงหนึ่งในสิบของสหราชอาณาจักร แต่มีเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินและการท่องเที่ยวอันดับสองและสามของสหราชอาณาจักร คือเอดินบะระและกลาสโกว์ รวมไปถึงเมืองที่เป็นศูนย์กลางการค้าน้ำมันของยุโรปคือแอเบอร์ดีน โดยเป็นจุดเชื่อมต่อกับทะเลเหนือ เมืองสำคัญอื่น ๆ ของสกอตแลนด์ได้แก่ เมืองดันดีที่เป็นเมืองทางด้านเทคโนโลยีที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป เมืองสเตอร์ลิงที่เป็นเมืองหลวงเก่าของสกอตแลนด์ และมีเขตที่สูงที่เป็นดินแดนทะเลสาบภูเขาอันกว้างใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยที่สุดในสหราชอาณาจักร

เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษ จนเมื่อปี ค.ศ. 1603 ที่พระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ ได้ขึ้นครองบัลลังก์กษัตริย์แห่งประเทศอังกฤษโดยทรงใช้พระนามว่า พระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ จึงมีผลให้ทั้งสองประเทศมีกษัตริย์ปกครององค์เดียวกัน เรียกว่า Union of the Crowns อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของทั้งสองยังคงแยกจากกันอยู่จนกระทั่งวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 อังกฤษและสกอตแลนด์ได้รวมตัวกันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 มีผลให้รวมกับราชอาณาจักรอังกฤษ และกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ราวปี ค.ศ. 1740-1800 สกอตแลนด์มีความก้าวหน้ามากในเรื่องการศึกษาวิชาการ มีนักคิดและนักปรัชญาคนสำคัญเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้มากมาย จนมีการเรียกขานช่วงเวลานี้ว่า ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์(Scottish Enlightenment) ตัวอย่างของนักคิดคนสำคัญในช่วงนี้ได้แก่ เดวิด ฮูม นักปรัชญาชื่อดัง และอดัม สมิธ บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ โดยมีศูนย์กลางที่สำคัญคือเมืองเอดินบะระและมหาวิทยาลัยเอดินบะระ

ถนนบูคานัน กลาสโกว์ สกอตแลนด์

หลังจากยุคเรืองปัญญา สกอตแลนด์มีการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมอย่างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ผลงานการประดิษฐ์และคิดค้นของชาวสกอตในยุคนี้โดดเด่นกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างเห็นได้ชัด นับตั้งแต่การคิดค้นทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวล การค้นคว้าทางด้านอุณหพลศาสตร์ของลอร์ดเคลวินและแรงคิน และการพัฒนาเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นสำคัญให้สหราชอาณาจักรเกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมและกลายเป็นเจ้าอาณานิคมในเวลาต่อมา ผลงานประดิษฐ์โทรศัพท์ โทรทัศน์ เรดาร์ การคิดค้นยาปฏิชีวนะ การพัฒนาเทคนิคการผ่าตัดสมัยใหม่ นอกจากนี้ ชาวสกอตยังมีชื่อเสียงด้านการเงินและการธนาคาร โดยมีการคิดค้นนวัตกรรมทางการเงินและการธนาคารต่าง ๆ อาทิ ตู้เอทีเอ็ม การเบิกเงินเกินบัญชี (overdraft) และการนำระบบทศนิยมมาใช้ในการธนาคาร ชาวสกอตยังเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรปหลายแห่ง เช่นHSBC และ RBS ซึ่งเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 1 และ 2 ของยุโรป รวมไปถึงการริเริ่มก่อตั้งBank of England ด้วย