วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของขนมสีสันสดใสนี้มีชื่อเรียกว่าอะไรกันนะ?

                                   ความเป็นมาของขนมสีสันสดใสที่มีชื่อเรียกว่าอะไรกันนะ?





ขนมสีสันสดใสที่น่ารับประทานนี้เป็นขนมที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอิตาลี มาจากคำว่า "Maccaone หรือ Maccherone" ในภาษาอิตาลี มาการองหรือมาการูน เปิด ตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1553 โดยเชฟหญิงชาวอิตาลีที่มีนามว่า Catherine de Medicis ในงานแต่งงานของเธอกับ Duc d'Orleans หรือกษัตริย์เฮนรี่ที่ 2 ของฝรั่งเศส ในอีก 21 ปีต่อมานั่นเอง

         มาการองหรือมาการูน เริ่มแรกเป็นขนมที่ทำขึ้นมาง่ายๆจากอัลมอนต์ น้ำตาลและไข่ขาวเท่านั้น ซึ่งเป็นของที่มีราคาไม่แพงและมีคุณค่าทางอาหาร มีการบันทึกไว้ว่าหลานสาวของ Catherine de Medicis และชาวฝรั่งเศสใช้รับประทานเพื่อประทังชีวิตในยุคข้าวยากหมากแพง

          จนกระทั่งช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หน้าตาของ มาการองหรือมาการูน ก็เปลี่ยนไปเป็นขนมที่มีสีสันฉูดฉาด และนำมาการูนสอง แผ่นมาประกบกันโดยมีไส้ "chocolate panache (ช็อกโกแล็ตผสมครีม)" โดย Pierre Desfontaines หลายชายของ Louis Ernest Laduree (Laduree pastry and Salon de the,rue Royale) ร้านเบเกอรี่ชื่อดังในฝรั่งเศส
         การทำมาการองคร่าวๆ คือ การผสมไข่ขาว น้ำตาลทราย และอัลมอนด์ล้วนๆบดละเอียดจนเป็นผงคล้ายแป้ง เรียกส่วนผสมนี้ว่า เมอแรงก์ (meringue) ตักเมอแรงก์ใส่กรวยแล้วบีบลงบนถาดอบเป็นชิ้นกลมๆขนาดเล็ก และต้องตากทิ้งไว้สักพักแล้วจึงนำเข้าเตาอบ ออกมาเป็นฝามาการอง (Shell) แล้วทำไส้สอดไว้ตรงกลาง
          การทำมาการองต้นตำรับ แตกต่างกันตั้งแต่วิธีเตรียมเมอแรงก์แบบที่นิยมทำกันในปัจจุบัน การทำมาการองแบบต้นตำรับนั้นต้องใช้วิธีเตรียมเมอแรงก์แบบ "เฟรนช์ เมอแรงก์ (French Meringue)"  คือการตีไข่ขาวกับน้ำตาลทรายแบบไม่ต้องต้ม ใช้มือค่อยๆตีไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นวิธีดั้งเดิมที่คนฝรั่งเศสทำมาเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา  ร้านมาการองที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันของฝรั่งเศสก็ยังใช้วิธีดั้งเดิมนี้ อยู่ แต่ตอนนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีใครทำแล้ว เพราะวิธีทำยุ่งยากกว่าวิธีต้มน้ำตาลด้วยความร้อนซึ่งจะทำให้ผิวของมาการอง ไม่เหมือนกัน และแบบดั้งเดิมต้องใช้เวลาตากที่อุณหภูมิห้องอย่างน้อย 3 ชั่วโมงถึงจะนำเข้าอบได้ ขณะที่วิธีต้มน้ำตาล ทิ้งไว้เพียง 15 นาที ก็นำเข้าเตาอบได้เลย           
         มาการองสมัยนี้นิยมต้มน้ำตาลทรายที่อุณหภูมิ 118 องศาเซลเซียส ซึ่งเมื่อรวมกับไข่ขาวจะมีความแน่นและคงตัวช่วยไม่ให้ผิวหน้ามาการองแตกจาก การอบ ผิวเรียบสวย แต่ไม่มีความนุ่มเท่ากับวิธีตีน้ำตาลทราย ไข่ขาวและผงอัลมอนด์ให้ขึ้นฟูเบาๆ ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญ
         การทำมาการองต้นตำรับแบบ เฟรนช์ เมอแรงก์ ทำให้ได้ตัวฝามาการอง (Shell) ซึ่งผิวสัมผัสด้านนอกจะกรอบบางๆ กัดนิดหนึ่งจะพบความนุ่มของเนื้อเชลล์แทบจะละลายในปากผสมกลมกลืนไปกับรสชาติ ของไส้                   
         ลักษณะเฉพาะของมาการองอีกจุด คือ "ชายลูกไม้ฝรั่งเศส (skirt)" คือส่วนที่เป็นรอยหยักๆ บริเวณรอบๆขอบเชลล์  ซึ่งเกิดจากส่วนผสมและการอบที่เหมาะสม ถ้าอบแล้วไม่มีสเกิร์ตเกิดขึ้น ตัวเชลล์จะกลายเป็นขนมผิงที่กรอบทั้งชิ้น   
         ก็ได้รู้ความเป็นมาและลักษณะของ มาการองหรือมาการูน กันพอสังเขปแล้วนะคะ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆที่รักการทำเบเกอรี่ ลองทำขนมสีสันฉูดฉาดที่ชื่อ "มาการอง (Macaroon)" กันดูนะคะ เผื่ออาจจะได้ใช้ประโยชน์ในยามข้าวยากหมากแพงกันค่ะ แต่สำหรับในเมืองไทยน่าจะราคาแพงกว่าข้าวสารอยู่ดีนะคะ...^___^    

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น