วันอาทิตย์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2557

Glutathione

                                                         กลูต้าไธโอนเป็นอย่างไรกันนะ?


กลูตาไธโอน (อังกฤษ: glutathione) เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ปกติแพทย์จะใช้ในปริมาณเพียง 200 มิลลิกรัมต่อครั้ง มีกลุ่มคลินิกเสริมความงาม เป็นสารอ้างว่าใช้ผสมกับวิตามินซี ฉีดทำดีท็อกซ์ผิวขาว[2]
กลูตาไธโอน เป็น tripeptides ของกรดอะมิโน 3 ตัว คือ ซีสทีน (cystine), กรดกลูตามิค (glutamic acid) และไกลซีน (glycine) ซึ่งร่างกายสามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ และมีในอาหาร เช่น นม ไข่ ผลอะโวคาโด สตรอเบอร์รี มะเขือเทศ ผักบรอคโคลี ส้มเกรปฟรุต และผักโขม [3]
กลูตาไธโอนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจึงช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้ตับขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังนำมารักษาโรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้ออักเสบ โรคพาร์กินสัน โรคตับ โรคไต โรคเอดส์ ภาวะเป็นหมันในเพศชาย และภาวะหูตึงจากเสียงดัง ผลข้างเคียงทำให้ผิวขาว
หน้าที่หลักของสารตัวนี่ที่เด่นมีอยู่ 3 ประการ คือ
1. Detoxification : กลูต้าไทโอนช่วยสร้างเอ็นไซม์ชนิดต่าง ๆ ในร่างกายโดยเฉพาะ Glutathion-S-transferase ที่ช่วยในการกำจัดพิษออกจากร่างกายโดยไปเปลี่ยนสารพิษชนิดไม่ละลายในน้ำ (ละลายในน้ำมัน) เช่น พวกโลหะหนัก สารระเหย ยาฆ่าแมลง แม้แต่ยาบางชนิด ให้เป็นสารที่ละลายน้ำได้ดีขึ้นและง่ายต่อการกำจัดออกจากร่างกาย นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตับ1 จากการถูกทำลายโดย แอลกอฮอล์ (สุรา) สารพิษจากบุหรี่ ยาพาราเซตามอลเกินขนาด (Overdose) ฯลฯ
2. Antioxidant : กลูต้าไทโอนมีคุณสมบัติเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Antioxidant) ที่มีความสำคัญตัวหนึ่งในร่างกาย และหากขาดไป วิตามินซีและอี อาจจะทำงานได้ไม่เต็มที่
3. Immune Enhancer : ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย2 โดยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์หลายชนิดเพื่อให้ร่างกายต่อต้านสิ่งแปลกปลอม รวมถึงเชื้อแบคทีเรียและไวรัส นอกจากนี้กลูตาไทโอน ยังช่วยสร้างและซ่อมแซม DNA สร้างโปรตีนและ protaglandin

ข้อบ่งใช้ในทางการแพทย์

สารนี้บางประเทศขึ้นทะเบียนเป็นยา และบางประเทศใช้เป็นอาหารเสริม แต่ในประเทศไทยสารนี้ยังไม่ผ่านการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
มีรายงานการใช้สารกลูต้าไทโอนในหลายกรณี เช่น โรคทางระบบประสาท เช่น พาร์กินสัน โดยใช้ฉีดเข้าทางเส้นเลือดดำ ใช้รักษาภาวะการเป็นพิษจากโลหะหนัก พิษจากยาพาราเซ็ทตามอล ทำลายพิษในตับ ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานในคนไข้ AIDS, มะเร็ง และใช้ต้านความชรา
แต่ ข้อมูลที่ใช้รักษาฝ้า และทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งเหมือนมีแสงออร่า นั้นยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน พบว่าเป็นผลข้างเคียงจากการใช้สารนี้ที่ใช้รักษาโรคอื่นแล้วผิวขาวขึ้น จึงมีการนำมาใช้ทำให้ผิวขาวขึ้น

ปัญหาของกลูต้าไธโอน(ชนิดฉีด)

1. ผล ข้างเคียงที่น่ากลัว คือการฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำ มีโอกาสที่จะแพ้ได้ ทั้งการแพ้สารกลูต้าไธโอน เอง หรืออาจจะแพ้ สารฆ่าเชื้อ หรือ สารกันเสีย หรือ สารปนเปื้อน ขณะนี้มีรายงานในต่างประเทศว่าผู้ ที่ได้รับการฉีดกลูต้าไธโอนขนาดสูงที่ใช้กันอยู่มีอาการช็อค ความดันต่ำ หายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
2. สารกลูต้าไธโอน (ชนิดฉีด)ที่ใช้อยู่เป็นการลักลอบนำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ไม่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สารนี้ที่ใช้ในการแพทย์ มีชื่อว่า Tationil ซึ่งผลิตโดยบริษัท Roche ประเทศอิตาลี แต่บริษัท Roche ประเทศไทย ได้ยืนยันมาว่าบริษัทไม่ได้เป็นผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย และยังพบว่ามียาปลอมมีที่ผลิตที่เวียดนามและจีน โดยที่พิมพ์ว่าผลิตในอิตาลี ทำให้เกิดผลข้างเคียงในการฉีดได้
3. การที่ฉีดมักจะให้วิตามินซีในขนาดสูงร่วมด้วย ซึ่งการฉีดวิตามินซี ในขนาดที่สูงและเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ คล้ายจะเป็นลมได้
4. พบว่าการที่ได้รับสารกลูต้าไธโอนจากการฉีดเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เม็ดสีที่จอตาลดลง ทำให้รับแสงได้น้อยลง เสี่ยงต่อการมองเห็นได้ในอนาคต ทางวารสารทางการแพทย์สหรัฐอเมริกาจัดว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงทางตา
5. การใช้สารกลูต้าไธโอนในผู้ป่วยมะเร็งทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดลดลง
6. การได้รับสารกลูต้าไธโอนปริมาณมาก มีผลต่อแร่ธาตุในขบวนการเมตาบอลิซึม และตัวมันเองสามารถกลายเป็นอนุมูลอิสระ มาทำร้ายร่างกายได้
7. ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในเรื่อง “กลูต้าไธโอน” นั้น เท่าที่ทราบมีการขายเกลื่อนตามเว็บไซต์ ราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงเป็นหมื่นบาท และมีการแนะนำวิธีฉีด และอวดอ้างสรรพคุณ จนทำให้คนที่อยากขาวเกิดความสนใจ และซื้อหาไปทดลองทั้งฉีดกันเองซึ่งอาจทำให้เกิดการแพ้ การติดเชื้อ และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย

ปัญหาของกลูต้าไธโอน(ชนิดรับประทาน)

ยังไม่มีรายงานว่าเกิดผลข้างเคียงจากกลูต้าไธโอนชนิดรับประทาน ปัจจุบัน ทางองค์การอาหารและยา(อย.) ได้ออกมารับรัองกลูต้าไธโอนชนิดรับประทานแล้วว่าปลอดภัย สามารถทานได้

ข้อควรระวัง

 ควรระวังในการทานกลูต้าไธโอน สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่ออาหารโปรตีน เช่น ไข่ นม หรือข้าวสาลีเด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบ และสตรีมีครรภ์ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าไม่จำเป็น หรือใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์
ในปัจจุบันองค์การอาหารและยาของไทย(อย.) รับรองเฉพาะผลิตภัณฑ์อาหารเสริมกลูต้าไธโอนชนิดรับประทานเท่านั้น โดยระบุว่า 1 เม็ดจะต้องมีกลูต้าไธโอนได้สูงสุดไม่เกิน 250 มก. ซึ่งจะแสดงด้วยเลขอย. 13 หลักภายใต้เครื่องหมายอย. เข่น อย. เลขที่ 10-1-04741-1-0610 เป็นต้น
ส่วนชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดนั้นทางอย.มิได้รับรอง เพราะเกิดอันตรายได้ นอกจากอย.ไม่รับรองชนิดฉีดแล้ว ผู้ขายและผู้ลักลอบฉีดก็จะมีความผิดตามกฎหมายด้วย หากพบการลักลอบจำหน่ายยาฉีดกลูต้าไธโอน ถือว่า มีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา ฐานโฆษณาเกินจริง มีโทษปรับถึง 100,000 บาท นอกจากนี้ ยังเป็นการขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.1556 หรือที่ สายด่วน บก.ปคบ.1135 (ส่วนกลูต้าไธโอนชนิดรับประทานที่มีอย.รับรองสามารถทานได้ ถูกต้องตามกฎหมาย



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น