- ราชินีฮัตเชปซุต (Hatshepsut ):ทรงครองราชย์ในปีที่1505 - 1484 ก่อน ค.ศ.พระนางฮัตเชปซุตเป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 1 กับพระราชินีอาโมซิสโดยพระนามฮัตเชปซุต มีความหมายว่า " ยอดขัตติยา " เนื่องจากราชินีอาโมซิสไม่มีพระโอรส ดังนั้นสิทธิในราชบัลลังก์จึงตกอยู่กับโอรสของทุตโมซิสที่ 1 กับพระชายารองที่ชื่อ มุทโนเฟรท (Mutnofret) และในปีที่ 1519 ก่อน ค.ศ. ก็ทรงขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์ทุตโมซิสที่ 2 โดยอ�� ิเษกกับเจ้าหญิงฮัตเชปซุต ซึ่งเป็นพี่สาวต่างมารดา ตามประเพณีของอียิปต์เพื่อรัหษาสายเลือดอันบริสุทธิ์ของพระราชวงศ์ ทุตโมซิสที่2 เป็นกษัตริย์ที่อ่อนแอและไม่มีความสามารถในการรบหรือการปกครองเท่าพระบิดา อำนาจในการบริหารงานจึงตกอยู่ในมือราชินีอันที่จริงนั้นพระนาสงฮัตเชปซุตก็เคยช่วยพระบิดา บริหารราชกิจมา บ้างตั้งแต่ยังเป็นเจ้าหญิงหลังจากครองราชย์เพียง14 ปี ฟาโรห์ทุตโมซิสที่2 ก็สวรรคตโดยไม่มีโอรส กับพระนางฮัตเชปซุต มีเพียงพระธิดา คือเจ้าหญิงเนเฟอร์รูเร(Neferure)เท่านั้น
ราชินีฮัตเชปซุต (Hatshepsut )
- อย่างไรก็ตาม ทรงมีโอรสกับพระชายารองที่ชื่อ ไอซิส อีกหนึ่งองค์คือ เจ้าชายทุตโมซิส เนื่องจากเจ้าชายทุตโมซิสยังทรงพระเยาว์มาก ดังนั้นพระนางฮัตเชปซุตผู้มีศักดิ์เป็นป้าจึงเป็นผู้สำเร็จราชการแทน และหลังจากกุมอำนาจได้หลายปีด้วยความทะเยอทะยานพระนางจึงตัดสิน พระทัยขึ้นเป็นฟาโรห์ปกครองอียิปต์ในที่สุด พระนางได้ประกาศองค์เป็นธิดาผู้เป็นที่รักของสุริยเทพอามอน - รา เพื่อสร้างความชอบธรรมในการครองบัลลังก์ นอกจากนี้พระนางยังทรงสร้างเสาโอบีลิคส์ซึ่งเป็นแท่งหินสูงสามสิบเนตรมียอดหุ้มด้วย เงินผสมทองคำและสลักเรื่องราวของพระนางลงไป นอกจากนี้เวลาปรากฏองค์ต่อหน้าสาธารณชนพระนางจะสวมเครื่องทรงของบุรุษ และมีเคราปลอมสวมอยู่ทำให้รูปสลักของพระนางมีเคราเหมือน ผู้ชาย
ตลอดรัชสมัยของฮัตเชปซุตแผ่นดินอียิปต์สงบร่มเย็นมีเพียงสงครามย่อยๆในนูเบียและคาบสมุทรไซนายอย่างละครั้งเท่านั้น ในยุคนี้ได้ชื่อว่าเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองทางการค้าและศิลปะ พระนางได้ส่งกองเรือไปสำราจดินแดนพันต์ (Punt) ซึ่งอยู่ตอนในของอาฟริกาและนำสินค้ามีค่าต่างๆกลับมาสู่อียิปต์ พระนางฮัตเชปซุตมีเสนาบดีคู่พระทัยชื่อว่าเซเนมุท(Senemut) ซึ่งเป็นผู้ดูแล เจ้าหญิงเนเฟอร์รูเร และเชื่อกันว่าเป็นชู้รักของพระนางอีกด้วย เซเนมุทเป็นสถาปนิกที่มีความสามารถและเป้นผู้ออกแบบสิ่งก่อสร้างในรัชสมัยนี้รวม ทั้งมหาวิหารเดียร์-เอล-บาห์รี ที่งดงามไม่แพ้มหาวิหารอาบูซิมเบล
มีการก่อสร้างวิหารอุทิศแด่เทพเจ้า
- พระนางฮัตเชปซุตยังดูแลเจ้าชายทุตโมซิสเป็นอย่างดีและเมื่อเจ้าชายเจริญวัยขึ้น พระนางก็ได้แต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพอีกด้วยและแล้วในปีที่22 ของการครองราชย์ ฟาโรห์ฮัตเชปซุตก็หายสาปสูญไปจากหน้าประวัติศาสตร์อย่างลึกลับ รวมทั้งเซเนมุทเสนาบดีคู่พระทัย โดยไม่มีใครทราบว่าเกิดอะไรขึ้น กับทั้งสอง บางทีทั้งคู่อาจถูกกำจัดไปโดยฝ่ายของทุตโมซิสที่3 ซึ่งกำลังเรืองอำนาจหรือไม่เช่นนั้นพระนางก็อาจสละราชสมบัติและหนีไปกับเซเนมุทก็เป็นได้ หลักฐานและบันทึกเกี่ยวกับพระนางถูกทำลาย จนแทบไม่มีอะไรเหลือ โดยฟาโรห์ทุตโมซิสที่3 ซึ่งไม่พอพระทัยที่ต้องทรงอยู่ในอำนาจของพระนางมาเป็นเวลานาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น