มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล
ขณะเกิดสงครามไครเมีย ในปี ค.ศ. 1857 ท่านได้อาสาพยาบาล ไปช่วยดูแลทหารที่เจ็บป่วย ในแนวรบ ท่านได้สละทั้งแรงกายและเงินส่วนตัวในการจัดหาอุปกรณ์เครื่องใช้ที่ขาดแคลน ปรับปรุงแก้ไขสภาพของทหารที่แต่งกายสกปรก เกรอะกรังด้วยเลือด ความขาดแคลนน้ำและสภาพของโรงพยาบาลที่สกปรกและแออัด จนสามารถลดสถิติการตายของทหารจากโรคติดต่อ 42% เหลือ 2% ด้วยการอุทิศตนโดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก ออกตรวจเยี่ยมทหารเจ็บป่วยในเวลากลางคืนมิได้ขาดเป็นภาพที่ประทับใจแก่ทหารที่เจ็บป่วย จนได้รับสมญานามว่า “The Lady of The Lamp” ภายหลังสงครามได้มีผู้ร่วมกันตั้งทุนการศึกษาสำหรับพยาบาล “ไนติงเกล” ขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน
ท่านได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดระเบียบด้านสุขอนามัยในกองทัพอังกฤษ วางแผนงานด้านสุขาภิบาลในประเทศอินเดีย เป็นที่ปรึกษาของกองทัพอังกฤษด้านโรงพยาบาล และการพยาบาล นอกจากนี้ยังจัดทำตำราและตั้งโรงเรียนพยาบาลที่เป็นแบบอย่างแก่ทั่วโลก มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ถึงแก่กรรมเมื่อปี ค.ศ. 1910 ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้กำเนิดวิชาชีพการพยาบาล และเป็นปฐมบูรพาจารย์วิชาการพยาบาลของโลก
ดังนั้นวันเกิดของมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล วันที่ 12 พฤษภาคม ของทุกปี สภาพยาบาลระหว่างประเทศ (International Council of Nurses) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพพยาบาลได้กำหนดให้เป็นวันพยาบาลสากล พยาบาลทั่วโลกจะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่านและร่วมจัดกิจกรรมวันพยาบาลสากล สำหรับประเทศไทย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ร่วมกับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ สาขาภาค สภาการพยาบาล สถาบันการศึกษาและสถานบริการพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศ ได้ร่วมจัดกิจกรรมวันพยาบาลเพื่อสดุดี มิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล บูรพาจารย์แห่งการพยาบาล รำลึกถึงพระคุณของท่าน และประกาศเกียรติคุณ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบ และเป็นการเผยแพร่บทบาทของพยาบาลต่อสุขภาพของประชาชนให้สาธารณชนทราบเป็นประจำทุกปีมิสฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นชาวอังกฤษ เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1820 ท่านมี อุดมการณ์ และความมุ่งมั่นในการเป็นพยาบาล โดยเข้าศึกษาในสถานศึกษาพยาบาล อบรม และดูงานด้านการพยาบาลในประเทศต่างๆ เพื่อ มุ่งบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น