วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ประโยชน์น้ำนมแม่


นมแม่มีสารอาหารครบถ้วน            โปรตีนในนมแม่มีกรดอะมิโนที่แตกต่างจากนมวัวจึงย่อยง่ายและสามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่    คาร์โบไฮเดรตที่มากที่สุดในนมแม่ คือ  แลคโตส  ช่วยการดูดซึมของธาตุเหล็กและแคลเซียมในลำไส้     ไขมันในนมแม่มีกรดไขมันที่จำเป็นครบถ้วน  น้ำย่อยไขมันที่มีในนมแม่ช่วยย่อยไขมันเพื่อให้ทารกใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานได้อย่างเต็มที่   โซเดียมและเกลือแร่อื่นในนมแม่มีน้อยกว่านมวัว    ไตของทารกจึงไม่ต้องทำงานหนักเกินไปในระยะเริ่มต้นของชีวิต 
 นมแม่มีภูมิคุ้มกันโรค
            ใน 2-3 วัน หลังคลอดน้ำนมแม่จะข้น มีสีเหลืองเข้มเรียกว่า หัวน้ำนม” มีภูมิคุ้มกันโรคสูงมาก   เสมือนวัคซีนหยดแรกของชีวิตลูก    กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ป้องกันโรคภูมิแพ้ นมแม่มีสารที่ปกป้องลำไส้จากการติดเชื้อ กรดอะมิโนในนมแม่ช่วยการเจริญในลำไส้  ทั้งหมดนี้กระตุ้นการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคใน   ร่างกายทารกให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต
 นมแม่ทำให้ลูกเจริญเติบโตอย่างเต็มที่             ทารกที่ได้รับนมแม่ในช่วงอายุ 3-4 เดือนแรกมีการเจริญเติบโตตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก      มีขนาดเส้นรอบศรีษะโตกว่าค่ามาตรฐานในขวบปีแรก    จอประสาทตาของทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว 4 เดือน มีปฏิกิริยาตอบสนองที่รวดเร็วกว่าของทารกที่ได้รับนมแม่น้อยกว่า 4 เดือน
  นมแม่ดีต่อจิตใจแม่และลูก            ลูกกินนมแม่ มิใช่เพียงแต่ได้ น้ำนมแม่   แต่ลูกจะได้ตัวแม่” อยู่ใกล้ชิดด้วย   การที่แม่-ลูกได้สัมผัสกันก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างแม่-ลูก    ลูกจะรู้สึกปลอดภัย อบอุ่น ได้รับความรักเต็มเปี่ยม  สร้างเสริมความมั่นคงทางด้านจิตใจของทั้งแม่และลูก   เกิดพัฒนาการทางด้านสมองสติปัญญา  ความฉลาดทางอารมณ์และบุคลิกภาพที่สมบูรณ์พร้อมในวัยเด็กโตและวัยผู้ใหญ่
  นมแม่เป็นต้นทุนที่ดีของสมองลูก            ทารกที่ได้รับนมแม่อย่างเพียงพอ มีระดับพัฒนาการและเชาว์ปัญญาที่ดีกว่าทารกที่ได้รับนมผสม  ตั้งแต่ 2-3 จุด จนถึง 8-11 จุด    เนื่องด้วยนม
แม่มีสารอาหารที่เหมาะสำหรับการสร้างเซลล์สมองของเด็กมากที่สุด
  นมแม่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงต่อภาวะภูมิแพ้            กรรมพันธุ์เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้    แต่การที่ทารกได้รับอาหารที่มีโปรตีนแปลกปลอมในระยะที่ทางเดินอาหารยังไม่แข็งแรง คือระยะ 6 เดือนแรก       เนื่องด้วยในระยะ 6 เดือนแรกเยื่อบุทางเดินอาหารไม่แข็งแรง  น้ำย่อยอาหารยังไม่พอ สารภูมิคุ้มกันที่จะคอยดักจับของแปลกปลอมยังมีไม่พอ      ดังนั้นถ้าได้รับโปรตีนแปลกปลอมซึ่งมีในนมผสมซึ่งเป็นนมวัว  จึงมีโอกาสหลุดรอดไปกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ได้        ซึ่งต่างจากน้ำนมแม่ซึ่งเป็นโปรตีนของคนจึงไม่กระตุ้นให้เกิดการแพ้         โดยทั่วไปทารกที่กินนมผสมมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากกว่าทารกที่กินนมแม่ 2 – 7 เท่า 
นมแม่ปลอดภัยใหม่ สดเสมอ และ ประหยัด   
นมแม่มีสารทำลายเชื้อโรค            ในน้ำนมแม่มีสารที่สามารถทำลายเชื้อโรคได้    ลูกดูดนมแม่จะมีนมแม่ค้างอยู่ในปากซึ่งช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ลูกไม่เกิดฝ้าขาวในปาก      ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำล้างปากหลังให้นมแม่ 
 นมแม่ช่วยป้องกันการป่วยหลายชนิด เมื่อเทียบกับทารกที่กินนมผสมพบว่าลดโอกาสเกิดโรคต่างๆ ดังนี้
โรคท้องเสีย – ปอดบวม
3.5 – 4.9เท่า
หูชั้นกลางอักเสบ3 - 4เท่า
โรคลำไส้อักเสบ20เท่า
โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ3.8เท่า
โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ2.6 – 5.5เท่า
โรคภูมิแพ้2.7เท่า
โรคเบาหวานชนิดที่ 12 – 4เท่า
 นมแม่ย่อยง่าย  ถ่ายสะดวก  ท้องไม่ผูก              ทารกที่ได้รับนมแม่ในระยะเดือนแรกๆ มักจะถ่ายเหลวและถ่ายบ่อย      อาจเพราะนมแม่ย่อยง่ายและดูดซึมได้เกือบหมด    อุจจาระจึงมีกากน้อยและถ่ายบ่อยได้     แต่เมื่ออายุมากขึ้นลูกจะดูดนมได้มากขึ้นจนเกลี้ยงเต้า      ลูกจะถ่ายห่างขึ้นเพราะน้ำนมในช่วงท้ายๆในเต้านมจะมีไขมันสูง ลูกจะใช้เวลาย่อยและดูดซึมนานขึ้น     อุจจาระก็จะ
จะห่างขึ้น     บางคนอาจเป็น 10 วัน แต่ถ่ายไม่แข็ง ท้องไม่อืด ยังไม่อึดอัดแน่นท้อง ถือว่าปกติ
เคล็ดลับความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ดูดเร็ว  ดูดบ่อย  ดูดถูกวิธี  ไม่มีเครียด              เหตุผลที่ให้ลูกเริ่มดูดนมแม่ในครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงแรก คือ - กระตุ้นสัญชาตญาณของมนุษย์และความเป็นแม่- กระตุ้นความผูกพันทางจิตใจแม่ลูก- กระตุ้นให้สร้างนมแม่และหลั่งอย่างเต็มที่เร็วขึ้น- กระตุ้นการขับถ่ายขี้เทา และลดภาวะตัวเหลือง- ให้ลูกได้รับสารต้านทานจากหัวน้ำนม  และกระตุ้นการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในลำไส้- กระตุ้นการเจริญของจุลินทรีย์ขนิดเดียวกับของแม่บนผิวลูก- ให้ลูกได้รับไออุ่นและปรับสภาพอุณหภูมิกายที่เหมาะสมขณะที่ดูดนมแม่ปลายประสาทบริเวณหัวนมและลานหัวนมจะถูกกระตุ้น  และส่งต่อไปตามเส้นประสาทจนถึงสมอง     เพื่อกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนซ้ำ ไปกระตุ้นท่อน้ำนมให้หดตัวทำให้น้ำนมแม่ไหลและให้มีการสร้างน้ำนม       แต่ความเครียดจะไปลดการหลั่งฮอร์โมนนี้    จึงทำให้การสร้างและหลั่งน้ำนมแม่ลดลง 
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/94154

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น