วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
น้ำตาอาบมหาภูเขา
Story
ในวันที่จะกลายเป็นวันวิปโยคที่สุดในประวัติศาสตร์ของภูเขาที่สูงที่สุดในโลก นีมา ชีริง ชาวเชอร์ปาวัย 29 ปีจากหมู่บ้านคุมจุง ย่ำเท้าออกไปทำงานตอนตีสาม เขาแบกถังแก๊สหุงต้มหนัก 29 กิโลกรัมไว้บนหลัง เบื้องหลังเขาคือหมู่บ้านชั่วคราวของเบสแคมป์เอเวอเรสต์ (Everest Base Camp) ที่ซึ่งสมาชิกของคณะนักปีนเขานานาชาติราว 40 คณะกำลังหลับใหลอยู่ในเต็นท์ สูงจากเขาขึ้นไปคือแสงจากไฟฉายคาดศีรษะส่องเป็นทางวูบวาบท่ามกลางความมืด ระหว่างที่ชาวเชอร์ปาและคนงานชาวเนปาลเผ่าอื่นๆกว่า 200 ชีวิต เดินเรียงแถวไปตามทางโตนน้ำแข็งคุมบูซึ่งถือเป็นบริเวณที่อันตรายที่สุด มีลักษณะคล้ายเขาวงกตสูงชัน เคลื่อนขยับตลอดเวลา และเต็มไปด้วยเสาน้ำแข็งง่อนแง่น เหวน้ำแข็ง และน้ำแข็งผิดรูปผิดร่างที่ไหลย้อยเป็นระยะทาง 610 เมตรลงสู่โกรกธารที่อยู่ระหว่างไหล่เขาฝั่งตะวันตกของเมานต์เอเวอเรสต์และนุปเซ ยอดเขาสูง 7,849 เมตรที่ตระหง่านง้ำอยู่เหนือเบสแคมป์สหายชาวเชอร์ปาหลายคนของนีมา ชีริง ย้ำเท้ามุ่งหน้าสู่โตนน้ำแข็งดังกล่าวก่อนหน้าเขาในเช้าวันที่ 18 เมษายน ก่อนออกเดินทาง พวกเขารองท้องด้วยอาหารเช้าพื้นเมืองประกอบด้วยด้วยชาและโจ๊กทำจากแป้งข้าวบาร์เลย์เรียกว่า ซัมบา จากนั้นจึงยกข้าวของที่แพ็กไว้ตั้งแต่คืนก่อนขึ้นพาดบ่า บางคนลำเลียงเชือก พลั่วตักหิมะ สมอบก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะใช้ขึงเชือกให้เป็นราวมืออยู่กับที่ขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุดของเอเวอเรสต์ที่ระดับความสูง 8,850 เมตร ส่วนคนอื่นๆลากอุปกรณ์สารพัดที่จะใช้ตั้งแคมป์อีกสี่แคมป์ซึ่งอยู่สูงขึ้นไประหว่างทางสู่ยอดเขา
แม้จะต้องแบกหามข้าวของคนละอาจมากถึง 45 กิโลกรัม แต่ชาวเชอร์ปาส่วนใหญ่ก็แข็งแรงพอที่จะปีนระยะทาง 3.3 กิโลเมตรขึ้นไปยังแคมป์หนึ่งได้ภายในสามชั่วโมงครึ่งหรือน้อยกว่านั้น หลังปีนขึ้นมาจากเบสแคมป์ได้หนึ่งชั่วโมง นีมา ชีริง ซึ่งทำงานให้นักปีนเขาจากจีนคณะหนึ่ง ก็รุดมาถึงบริเวณที่เรียกกันว่า ป็อปคอร์นฟีลด์ (Popcorn Field) ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นทางสูงชันขึ้น ต้องปีนผ่านก้อนน้ำแข็งแตกหักระเกะระกะ และมีบันไดพาดเชื่อมจำนวนมาก ถัดจากตรงนี้ขึ้นไปข้างหน้าเป็นพื้นที่ราบเรียกว่า ฟุตบอลฟีลด์ (Football Field) ซึ่งนักปีนเขามักหยุดแวะพักกัน และเป็นเรื่องปกติที่จะได้ยินน้ำแข็งส่งเสียงครืดคราด ขณะที่ธารน้ำแข็งคุมบูสั่นสะท้านขยับไหลไปข้างหน้าด้วยอัตราความเร็วราวหนึ่งเมตรต่อวัน เหนือฟุตบอลฟีลด์ขึ้นไปเป็นเขตอันตรายมากอีกเขตหนึ่ง เพราะเต็มไปด้วยก้อนน้ำแข็งขนาดเท่าคฤหาสน์และแท่งน้ำแข็งยอดแหลมง่อนแง่น หากผ่านช่วงนี้ไปได้ การปีนเขาของนีมา ชีริง จะง่ายขึ้น เพราะธารน้ำแข็งคุมบูจะแผ่ราบเรียบเป็นทุ่งสีขาวกว้างใหญ่ไพศาลที่เรียกว่า เวสเทิร์นคูม (Western Cwm)
ราวหกโมงเช้า เหนือฟุตบอลฟีลด์ขึ้นไป นีมา ชีริง ปีนไปถึงฐานของผาน้ำแข็งสูงราว 12 เมตร จากตรงนั้น เขาเริ่มภารกิจการปีนป่ายอันงุ่มง่ามขึ้นทางบันไดอลูมิเนียมมัดเชื่อมต่อกันสามอัน พร้อมสัมภาระนักอึ้งบนหลัง พอไต่ขึ้นถึงยอดผา เขารู้สึกเหนื่อยใจเมื่อเห็นคนงานปีนเขาหลายสิบคนยืนออกันอยู่บนหิ้งน้ำแข็งลาดเอียงขนาดประมาณเท่าห้องอาหาร บางคนเข้าไปเรียงแถวรอปีนลงไปในร่องลึกทางบันไดมัดต่อกันสองอัน ในเช้าวันนั้น น้ำแข็งขยับตัวอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ทำให้สมอบกช่วงปลายด้านล่างของบันไดที่ใช้ไต่ลงหลุดออกมา ส่งผลให้การจราจรบนเส้นทางนั้นติดขัด คนที่มาถึงพื้นที่ส่วนนี้ตอนตีห้าเล่าว่าเกิดการล่าช้าอยู่นาน แม้จะตอกสมอบกยึดบันไดเข้าที่แล้ว ตอนที่นีมา ชีริง ไปถึงตรงนั้นอีกหนึ่งชั่วโมงให้หลัง เขาพบว่า สมอบกก็หลุดออกมาอีก
"ผมว่ามีคนไปอออยู่ตรงนั้นเกินร้อยคน หลายคนไต่ลงไปด้วยการเกาะเชือก ต้องใช้เวลาตั้งครึ่งชั่วโมงกว่าจะผ่านช่วงคอขวดนี้ไปได้ ตอนนั้นละครับที่ผมรู้สึกกลัวขึ้นมามากๆ" เขาบอก
ในเนปาล ลางสังหรณ์ถึงอันตราย บางครั้งจะรับรู้ได้ในรูปเสียงแหลมสูงอื้ออึง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า คานรูนู (kan runu) หรือหูร้อง (crying ear) นีมา ชีริง ผู้พิชิตยอดเขาเมานต์เอเวอเรสต์มาแล้วสามครั้งเคยได้ยินหูเขาร้องมาก่อนแล้วและรู้ดีเกินกว่าจะเพิกเฉย เขาสับสนลังเลมากว่า จะแบกสัมภาระมุ่งหน้าไปยังแคมป์หนึ่งต่อตามหน้าที่ หรือจะทิ้งถังแก๊สไว้ก่อนเท่าที่มาไกลได้ที่สุด แล้วกลับลงไปทันที เขาพยายามวิทยุติดต่อเซอร์ดาร์ (หัวหน้าลูกหาบ) ที่เบสแคมป์ แต่เจ้านายเขาลงไปจัดหาเสบียงอยู่ที่หมู่บ้านนัมเชบาซาร์ นีมา ชีริงติดต่อกับพ่อครัวที่แคมป์ได้เพียงคนเดียว เขาบอกพ่อครัวว่า หูเขากำลังร้อง และเขาจะทิ้งสัมภาระยึดไว้กับเชือกก่อน แล้วจะกลับลงมา เชอร์ปาคนอื่นๆถามเขาว่า เขาทำแบบนั้นทำไม
"ผมบอกไปว่า 'หูผมร้อง จะต้องมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นแน่ๆ ผมจะลงเขา พวกนายเองควรไปเหมือนกัน’" เขาเท้าความหลังและคะเนว่า ตอนนั้นน่าจะเป็นเวลาประมาณ 6:15 น.
เบสแคมป์และโตนน้ำแข็งยังอยู่ในเงามืด แต่เหนือขึ้นไปไกลโพ้น ยอดเขาอันเป็นที่สถิตของทวยเทพเชอร์ปาตั้งตระหง่านในแสงเจิดจ้า ตั้งแต่ยอดจรดฐานยังเป็นเช้าอันงดงามบนเมานต์เอเวอเรสต์ จนกระทั่งอีก 11 นาทีต่อมา
เวิ้งหุบรอบเบสแคมป์ของเอเวอเรสต์นั้นกว้างใหญ่ไพศาล จนนักปีนเขามักเห็นหิมะถล่มก่อนได้ยินเสียงเสียอีก เสียงจะตามมาเหมือนฟ้าร้องตามหลังอสุนีบาต เป็นเสียงซู่ซ่าเหมือนคลื่นทะเลซัดซาด ขณะกระแสเชี่ยวกรากของหิมะ น้ำแข็ง และก้อนหินถั่งโถมลงมาตามร่องธาร หรือทะลักลงมาจากปากหุบเขา แต่หิมะถล่มที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน มีเสียงต่างออกไป โดยเฉพาะต่อหูชาวเชอร์ปาที่ได้ยินเสียงนั้นขณะอยู่ในพื้นที่โตนน้ำแข็งพอดี เกือบทุกคนบรรยายตรงกันว่าเป็นเสียง ตุ๊งงงง หนักๆ เหมือนค้อนทุบระฆังใบหนาหนักเสียงทึบๆ
น้ำแข็งรูปทรงเหมือนเขี้ยวสุนัขก้อนมหึมาสูง 34 เมตร หนักราว 7,300 ถึง 13,600 ตัน แตกตัวออกมาจากชั้นน้ำแข็งบนไหล่เขาฝั่งตะวันตกของเอเวอเรสต์ แล้วถล่มลงมาเบื้องล่าง แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และทำให้เกิดผนังลมขนาดใหญ่ขึ้นทางด้านหน้าของน้ำแข็ง ขณะพุ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นและมีมวลใหญ่ขึ้น เชอร์ปาบางคนคิดว่าหิมะถล่มที่เห็นคงใช้เวลาหลายนาทีกว่าจะมาถึงพวกเขา แต่คนอื่นๆบอกว่า มันพุ่งมาถึงตัวภายในเวลาไม่กี่วินาที นักปีนเขาราว 24 คนอยู่ในเส้นทางหิมะถล่มโดยตรง และอีกจำนวนมากกระจายอยู่ตามริมขอบทั้งด้านบนและด้านล่าง
ไม่กี่ชั่วโมงหลังหิมะถล่มและปฏิบัติการช่วยชีวิตยุติลง ตัวเลขทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 16 คน เป็นชาวเชอร์ปา หรือไม่ก็คนงานชาวเนปาลเผ่าอื่นๆ ในจำนวนนี้สามคนยังสูญหายและคาดว่าน่าจะเสียชีวิตแล้ว พวกเขาจบชีวิตพร้อมสายรัดนิรภัย ขณะทุ่มเทแรงกายรงกายเพื่อส่งลูกเรียนหนังสือ สร้างบ้านหลังใหม่ให้ครอบครัว หรือซื้อยาแก้หอบหืดให้พ่อแม่แก่ชรา เด็กๆ 28 คนสูญเสียพ่อ ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 11 คนพบจุดจบในที่เดียวกัน ซึ่งก็คือตรงสันน้ำแข็งลาดเอียงที่พวกเขารอไต่ลงบันได และบัดนี้อันตรธานไปแล้ว
วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
เปิดสุสานเร้นลับ
ภาพ : เปิดสุสานเร้นลับ
ภาพโดย : โรเบิร์ต คลาร์ก, ภาพถ่ายทั้งหมดได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเปรู
คำบรรยายภาพ : ขนนกประดับอยู่บนชิ้นส่วนเครื่องประดับชิ้นนี้
ลอดลายลูกไม้ เส้นสายวัฒนธรรม
ภาพโดย : ชาร์ลส์ เฟรเช
คำบรรยายภาพ : ชุดทางด้านขวาเป็นการแต่งกายในยุคปี 1900 เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆของบริตตานี หญิงสาววัยดรุณีจะใช้ผ้ากันเปื้อนที่ตัดเย็บจากผ้าไหมหรือผ้าซาตินย้อมสี
การปีนออกจากรถยุโรปคันเล็กว่ายากแล้ว ยิ่งถ้าสวมหมวกสูง 33 เซนติเมตร เผลอๆคุณออกจากรถไม่ได้เลย แต่อะเลกเซีย กาอูดาล วัย 87 ปี และมารี-หลุยส์ โลเปเร วัย 90 ปี กลับออกจากที่นั่งด้านหลังรถซีตรองสีเงินของเพื่อนได้อย่างสง่างาม เจ้าของบ้านปรี่เข้าต้อนรับพวกเธอด้วยรอยยิ้มประหนึ่งรับเสด็จเจ้าหญิง
เจ้าหญิงกระนั้นหรือ อันที่จริงทั้งคู่ทำงานในโรงงานปลากระป๋องมาหลายสิบปี แต่กาอูดาลและโอเปเรก็เป็นคนดังในภูมิภาคแถบนี้ของฝรั่งเศสที่เรียกกันว่า บีกูดองเปอี (Bigouden Pays) ในเขตฟีนีสแตร์ซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุดของแคว้นบริตตานีมีผู้หญิงเพียงสองคนนี้เท่านั้นที่ยังใส่เครื่องประดับศีรษะทรงสูง หรือ กวฟ (coiffe) เป็นประจำ เฉกเช่นวิถีชีวิตประจำวันในสมัยก่อน
แม้หลังจะโค้งงุ้มไปตามวัย แต่แผงลูกไม้ยังคงตั้งเด่นอยู่บนเรือนผมสีขาวสลวย ดูราวกับประภาคารที่ส่งสัญญาณให้รู้ว่า เธอคือผู้หญิงชาวบิกูดอง
ชุดพื้นเมืองแบบเบรอตาญมีมากกว่าสิบแบบ แตกต่างไปตามหมู่บ้าน วาระที่ใส่ และยุคสมัย จากหมวกแก๊ปแบบง่ายๆ ที่สาวชาวไร่เคยใส่กันลมหรือแดดฝน ค่อยๆเปลี่ยนขนาดและรูปทรงจนดูน่าทึ่งในสมัยศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินมากหน้าหลายตา อาทิ ปอล โกแกง ในสมัยก่อน กวฟ “เป็นเหมือนบัตรประชาชนค่ะ” โซเลน โบเอนเนก ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์แห่งบีกูดอง เปรียบเปรย “กวฟบอกให้รู้ว่า คุณเป็นใคร มาจากไหน หรือกำลังไว้ทุกข์ให้ใครสักคน”
อย่างไรก็ตาม พอล่วงถึงทศวรรษ 1950 หญิงสาวส่วนใหญ่พากันละทิ้งธรรมเนียมดั้งเดิม แต่ยังคงสวมชุดพื้นเมืองเฉพาะในวาระสำคัญของเบรอตาญ ดังเช่นหญิงสาวที่ปรากฏในภาพถ่ายเหล่านี้ พวกเธอต้องฝึกฝนตลอดทั้งปีเพื่อร่วมประกวดการแต่งกายชุดพื้นเมืองเต็มยศในเทศกาลเต้นรำฤดูร้อน บางครั้งพวกเธอก็ไปร่วมงานแต่งงานและพิธีแสวงบุญทางศาสนาเรียกว่า ปาร์ดอง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเทศกาลฉลองนักบุญประจำท้องถิ่น
ทุกเช้า กาอูดาลและโอเปเรจะดึงผม หวี และรวบผมเปียเก็บไว้ใต้หมวกคลุมผมสีดำที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ การสวมกวฟอย่างสมบูรณ์จะใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมง และดูไม่เข้ากันเสียเลยกับภูมิภาคซึ่งติดมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือที่มีทั้งฝนและลมแรง เมื่อถามว่า ใส่แล้วสบายไหม กาอูดาลยักไหล่ก่อนตอบว่า “เราชินแล้ว” เธอพูดเหมือนกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ปนกับภาษาท้องถิ่นเบรอตาญ
10ข้อเท็จจริงที่หายไปในประวัติศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเอดิสันอีกว่า สิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาและจดสิทธิบัตรเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งปันให้กับผู้คิดค้นดั้งเดิม
นี้คือความรู้ที่ผิด จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่าไวกิ้งไม่โหดร้ายอย่างที่คุณคิด ไวกิ้งไม่ใช่นักรบอย่างเดียว หากแต่เป็นพ่อค้าและนักตั้งถิ่นฐานที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนายุโรปกลาง พวกเขาอาบน้ำสัปดาห์ละครั้ง ในวันเสาร์เท่านั้น(อย่าลืมว่าอากาศยุโรปมันหนาว) ที่น่าสนใจคือส่วนใหญ่พวกเขาสูงแค่ 170 ซม. ซึ่งไม่สูงอย่างที่เราเข้าใจกัน ผมและหนวดสีทองที่เราเห็นในภาพยนตร์เป็นเพียงอุดมคติความเชื่อในวัฒนธรรมไวกิ้งที่ใช้สบู่พิเศษในการแต่งไม่ใช้เป็นมาตั้งแต่เกิด อีกทั้งพวกเขาไม่ได้อาศัยเฉพาะสแกนดิเนเวีย พวกเขาอพยพไปหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น รัสเซีย, แอฟริกา หรือแม้แต่อเมริกาเหนือ ส่วนพฤติกรรมที่ฆ่าและข่มขืนปล้มทรัพย์นั้นเป็นส่วนน้อยเท่านั้น แต่สิ่งที่เชื่อถือได้คือพวกนักบวชในยุโรปไม่ชอบพวกนี้เท่าไหร่ เนื่องจากครั้งหนึ่งพวกไวกิ้งเคยทำลายวัดและฆ่าพวกพระบาทหลวงหลายคน(ภายหลังไวกิ้งก็เข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน)
เลดี้โกไดวา (Lady Godiva) เป็นสตรีสูงศักดิ์ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองโคเวนทรี (ประเทศอังกฤษมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 997-1067 เธอเป็นภรรยาของลีโอฟริก เอิร์ลแห่งเมอร์เซียและลอร์ดแห่งเมืองโคเวนทรี ผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินอังกฤษ เป็นคนละโมบและกดขี่ชอบเก็บภาษีประชาชนอย่างบ้าเลือด แม้เลดี้โกไดวาเฝ้าขอร้องสามีให้ลดภาษี แต่เขาไม่เคยยอม
จนกระทั้งวันหนึ่งลีโอฟริกได้คิดสนุกเลยบอกเลี้โกไดวาว่าถ้าเธอกล้าเปลือยกายขี่ม้ารอบเมือง เขาจะยอมลดภาษีให้ตามที่ขอ ซึ่งการการกระทำดังกล่าวสำหรับผู้หญิงอังกฤษสมัยกลางย่อมถือเป็นเรื่องต่ำช้าอย่างยิ่ง แต่เลดี้โกไดวาก็ตัดสินที่จะยอมทำตามดังกล่าว โดยเธอได้กระจายข่าวบอกชาวเมืองให้พวกเขาร่วมมือด้วยการปิด ประตูหน้าต่างหลบอยู่ในที่พักอาศัยขณะเธอขี่ม้าผ่านเปลือยกาย ซึ่งชาวบ้านก็ร่วมมือเป็นอย่างดี(ความจริงมีชายคนหนึ่งแอบดูนาง หากแต่เขาถูกสวรรค์ลงโทษด้วยการทำให้ตาบอดในเวลาต่อมา และชายคนนั้นชื่อทอม จนเกิดสำนวนว่า “ทอมนักถ้ำมอง” Peeping Tom ในเวลาต่อมา) จนนางสามารถทำสิ่งที่สามีบอกได้สำเร็จ และส่งผลให้สามีของเธอยกเลิกภาษาตามสัญญาที่ว่าไว้ อีกทั้งเธอก็ไม่ถูกประณามซ้ำยังชกลายเป็นวีรสตรีของชาวเมืองไปในทันที ทุกวันนี้ที่จัตุรัสกลางเมืองโคเวนทรีมีอนุสาวรีย์เลดี้โกไดวาตั้งอยู่อย่าง โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวเมืองภาคภูมิใจ ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1678 สภาเมืองโคเวนทรีได้เริ่มจัดให้มีขบวนแห่ "เลดี้โกไดวา" บันทึกไว้เป็นครั้งแรก โดยจัดหาผู้หญิงมาสวมผ้าสีเนื้อรัดกายให้ดูคล้ายเปลือยเปล่า นั่งบนหลังม้าแห่ไปรอบเมืองเพื่อรำลึกการกระทำอันงดงามของโกไดวา
ในขณะเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยหลายคนไม่คิดว่าเรื่องของโกไดวาได้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากหลักฐานระบุไว้เพียงว่าเธอเป็นภรรยาของเอิร์ลลีโอฟริก และข้อมูลยังบ่งชี้ว่าทั้งคู่ต่างก็มีน้ำใจงามและเคร่งศาสนา เช่นในปี 1043 ท่านเอิร์ลและเลดี้ได้บริจาคเงินพร้อมที่ดินเพื่อสร้างวัดในนิกายเบเนดิกทีนที่โคเวนทรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับโบสถ์โคเวนทรีที่ถูกระเบิดทำลายไปบางส่วนในสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดแห่งนี้ประดับด้วยพลอยล้ำค่างดงามอย่างที่ไม่มีวัดใดในอังกฤษยุคนั้นเทียบได้ และในช่วงทศวรรษ1050 ทั้งสองยังบริจาคที่ดินและเงินมหาศาลเพื่อสร้างวัดและโบสถ์อีกหลายแห่ง เช่นที่ลินคอล์นเชียร์ ลีโอมินสเตอร์ และอีฟแชม นักประวัติศาสตร์หลายคนจึงไม่คิดว่าท่านเอิร์ลจะโหดหินจนโกไดวาต้องเปลือยร่างขี่ม้าขอความเป็นธรรมให้ประชาชน
ส่วนผู้ที่เชื่อว่าตำนานนี้เป็นเรื่องจริงก็จะอิงบันทึกเกร็ดประวัติศาสตร์อังกฤษฉบับภาษาละตินที่ชื่อ Flores Historiarum (Flowers of History) ของโรเจอร์แห่งเวนโดเวอร์ (Roger of Wendover) ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ระบุเรื่องราวของเลดี้โกไดวาไว้ตามที่ระบุข้างต้น ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนแย้งว่าเวนโดเวอร์เป็นเพียงผู้บันทึกตำนานและเกร็ดประวัติศาสตร์ แต่ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อ 2 ศตวรรษหลังการตายของโกไดวา ข้อความดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อถือ แม้จะมีบันทึกระบุว่าครั้งหนึ่งลีโอฟริกได้ยกเลิกภาษีให้ประชาชนจริง และประทับตราด้วยตราประจำตัวของเขาเองเลยก็ตาม ส่วนคนอื่นก็เสริมว่าบางทีเลดี้โกไดวาอาจไม่ได้ปลดเปลื้องเสื้อผ้า หากแต่ปลดเชิงสัญลักษณ์ คือปลดทั้งเครื่องประดับกายและผม เพราะเมื่อสตรีสูงศักดิ์ปราศจากเครื่องประดับก็เท่ากับลดเกียรติของตนลงเทียบเท่าสตรีสามัญ
อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของโกไดวาจะเป็นเพียงตำนานหรือความจริงย่อมยากที่จะพิสูจน์ไม่ต่างจากทุกตำนานในโลก หากเหนือข้อเท็จจริงย่อมเป็นคุณค่าของตำนานที่ถูกส่งผ่านมากับกาลเวลา เฉกเช่นเรื่องของเลดี้โกไดวาที่เนื้อหาแท้จริงได้แทรกตัวอยู่ทั้งในบทกวี รูปปั้น ภาพเขียนของจิตรกรหลายยุคสมัย หรือกระทั่งในกระดาษห่อช็อกโกแลตยี่ห้อโกไดวา
music and Ballet
เซซาร์ คุอิ (หรือ คุย) นับว่าเป็นสมาชิกในกลุ่ม Mighty 5 ที่เป็นที่รู้จักน้อยที่สุด จริงๆ ท่านประพันธ์ผลงานไว้มากมาย แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน ท่านมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาดนตรีแบบชาตินิยมรัสเซีย เพราะท่านเป็นนักเขียนนักวิจารณ์ ทำให้ผลงานของกลุ่มเป็นที่แพร่หลายออกไป
Theatre in ancient Greece.
Painting of ballet dancers by Edgar Degas, 1872.
The Georgia Ballet presents
The Firebird
เมื่อ ทิศทางการพัฒนาของบัลเลต์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 20 มุ่งหน้าไปเช่นนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ความเฟื่องฟูของบัลเลต์ในภายหลังจะมามีศูนย์กลาง อยู่ที่รัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมี 3 ทหารเสือ อย่าง มาริอุส เปติปา เลฟ อีวานอฟ และเพเทอร์ ไชคอฟสกี ซึ่งช่วยกันแต่ง Swan Lake (1895) จนกลายเป็นบัลเลต์เรื่องดังที่สุดในโลก
ขณะ เดียวกันบัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ นักแสดงมากความสามารถหลายคนยังคงอยู่ในประเทศ และมีการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้น บัลเลต์เป็นสิ่งที่แพร่หลายมากในรัสเซีย แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยังมีการตั้งคณะบัลเลต์ชื่อดังมากมาย ตั้งแต่คณะบอลชอย (มอสโก) คณะคีรอฟ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ฯลฯ โดยนอกจากบัลเลต์เรื่องคลาสสิกๆ ที่ยังแสดงกันอยู่แล้ว ยังมีการนำวรรณกรรมหลายเรื่องมาเขียนเป็นบทบัลเลต์ เรื่องที่ดังๆ ก็คือ Romeo and Juliet และ Cinderella
วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
Snow White and the Seven Dwarfs.
Schneewittchen (Snow White) | |
---|---|
Schneewittchen by Alexander Zick | |
Folk tale | |
Name | Schneewittchen (Snow White) |
Data | |
Aarne-Thompsongrouping | 709 |
Country | Germany |
"Snow White" is a German fairy taleknown across much of Europe and is today one of the most famous fairy tales worldwide. The Brothers Grimmpublished it in 1812 in the first edition of their collection Grimms' Fairy Tales. It was titled in German: Sneewittchen (in modern orthography Schneewittchen) and numbered as Tale 53. The Grimms completed their final revision of the story in 1854.
The fairy tale features such elements as the magic mirror, the poisoned apple, the glass coffin, and the characters of the evil queen and the seven dwarfs, who were first given individual names in the Broadway play Snow White and the Seven Dwarfs (1912) and then givendifferent names in Walt Disney's 1937 film Snow White and the Seven Dwarfs. The Grimm story, which is commonly referred to as "Snow White", should not be confused with the story of "Snow White and Rose Red" (in German "Schneeweißchen und Rosenrot"), another fairy tale collected by the Brothers Grimm.
In the Aarne–Thompson folklore classification, tales of this kind are grouped together as type 709, Snow White. Others of this kind include "Bella Venezia", "Myrsina", "Nourie Hadig" and "Gold-Tree and Silver-Tree".
วันปิยะมหาราช
วันปิยมหาราช ตรงกับวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นที่รักใคร่อย่างล้นเหลือของพสกนิกรทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ พระองค์จึงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช" ซึ่งมีความหมายว่า "พระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน" ด้วยความสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลจึงได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม เป็น "วันปิยมหาราช"
ในวันปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จฯ ไปวางพวงมาลา ณ พระบรมรูปทรงม้าซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นประจำทุกปี
วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557
เกาะแก้วพิสดาร' ในเยเมน
นีฮัห์ มัลฮะห์ สวมผ้านุ่งคล้ายโสร่งที่เรียกว่า ฟูตอฮ์ ส่วนเมตากัล ผู้เป็นภรรยาสวมชุดยาวและผ้าคลุมศีรษะสีม่วงสดเข้าชุด ทั้งสองพูดคุยเรื่องชีวิตบนเกาะโซโคตราด้วยภาษาที่เหลือคนเข้าใจน้อยลงทุกวัน
ชาวอียิปต์ กรีก และโรมันโบราณต่างเคยใช้ประโยชน์จากขุมทรัพย์ทางธรรมชาติของโซโคตราทั้งยางไม้หอมอย่างกำยาน สารสกัดจากว่านหางจระเข้ที่มีสรรพคุณทางยา และยางไม้สีแดงก่ำของต้นเลือดมังกรที่นำมาบดทำสีของศิลปิน มูลค่าของกำยานและยางจากต้นเลือดมังกรพุ่งสูงสุดในยุคจักรวรรดิโรมัน หลังจากนั้น เกาะโซโคตรากลายเป็นเพียงจุดแวะพักระหว่างทางของพ่อค้า และผ่านร้อนผ่านหนาวยาวนานหลายร้อยปีโดยเกือบตัดขาดทางวัฒนธรรมจากโลกภายนอก
ทว่าตอนนี้ทุกอย่างได้เปลี่ยนไปแล้วการศึกษาวิจัยในช่วงรอยต่อระหว่างศตวรรษที่สิบเก้าและต้นศตวรรษที่ยี่สิบพิสูจน์ให้เห็นว่า เกาะเขตร้อนที่แม้จะมีขนาดเพียง 134 คูณ 43 กิโลเมตร แห่งนี้ กลับได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยรวมเอาองค์ประกอบต่างๆ ของทวีปแอฟริกา เอเชีย และยุโรป เข้าไว้ด้วยกันในลักษณะที่ยังคงสร้างความฉงนให้นักชีววิทยาจนถึงทุกวันนี้ จำนวนพืช ประจำถิ่น (ไม่พบในที่อื่น) ต่อตารางกิโลเมตรบนเกาะโซโคตราและเกาะเล็กๆ ใกล้เคียงอีก 3 เกาะจัดว่าสูง เป็นอันดับที่สี่ของกลุ่มเกาะแห่งใดๆ ในโลก เป็นรองก็แต่หมู่เกาะเซเชลส์ นิวแคลิโดเนีย และฮาวายเท่านั้น
สันติวิธีโดยอาศัยกลไกการประชุมร่วมกันระหว่างหมู่บ้านใกล้เคียง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็น ทางเลือกเดียวในการอยู่รอดท่ามกลางสภาพแวดล้อมอันทารุณของเกาะ ซึ่งส่งผลข้างเคียงเชิงบวกต่อการปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพอันโดดเด่นของโซโคตรา