วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

music and Ballet

ดนตรีและบัลเลต์
ในยุคโรแมนติกต้นศตวรรษที่ 19  มีการใช้เพลงพื้นบ้านเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการประพันธ์เพลง 
เช่น ลิสท์ (Franz Liszt) ได้ใช้ทำนองเพลงจากฮังการีในดนตรีของท่าน เช่นผลงานเพลงเปียโนชุด Hungarian Rhapsodies ในยุคนั้น ดนตรีคลาสสิกมักนิยมประพันธ์ในแนวทางซิมโฟนีแบบเยอรมัน  บัลเลต์แบบฝรั่งเศส  และโอเปร่าแบบอิตาเลี่ยน  ศิลปินหลายท่านเริ่มหันมาสนใจการสร้างดนตรีเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติตนมากขึ้น  เช่น เบดริก สเมทาน่า (Bedrich Smetana) ได้สร้างดนตรีแนวทางชาตินิยมของประเทศเช็ค ซึ่งเรียกกันว่าแคว้นโบฮีเมีย (Bohemia) ในสมัยนั้น
 เซซาร์ คุอิ (หรือ คุย) นับว่าเป็นสมาชิกในกลุ่ม Mighty 5 ที่เป็นที่รู้จักน้อยที่สุด จริงๆ ท่านประพันธ์ผลงานไว้มากมาย แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน ท่านมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาดนตรีแบบชาตินิยมรัสเซีย เพราะท่านเป็นนักเขียนนักวิจารณ์ ทำให้ผลงานของกลุ่มเป็นที่แพร่หลายออกไป
Theatre in ancient Greece.
Painting of ballet dancers by Edgar Degas, 1872.
The Georgia Ballet presents
The Firebird
เมื่อ ทิศทางการพัฒนาของบัลเลต์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 20 มุ่งหน้าไปเช่นนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ความเฟื่องฟูของบัลเลต์ในภายหลังจะมามีศูนย์กลาง อยู่ที่รัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมี 3 ทหารเสือ อย่าง มาริอุส เปติปา เลฟ อีวานอฟ และเพเทอร์ ไชคอฟสกี ซึ่งช่วยกันแต่ง Swan Lake (1895) จนกลายเป็นบัลเลต์เรื่องดังที่สุดในโลก
ขณะ เดียวกันบัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ นักแสดงมากความสามารถหลายคนยังคงอยู่ในประเทศ และมีการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้น บัลเลต์เป็นสิ่งที่แพร่หลายมากในรัสเซีย แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยังมีการตั้งคณะบัลเลต์ชื่อดังมากมาย ตั้งแต่คณะบอลชอย (มอสโก) คณะคีรอฟ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ฯลฯ โดยนอกจากบัลเลต์เรื่องคลาสสิกๆ ที่ยังแสดงกันอยู่แล้ว ยังมีการนำวรรณกรรมหลายเรื่องมาเขียนเป็นบทบัลเลต์ เรื่องที่ดังๆ ก็คือ Romeo and Juliet และ Cinderella

ในประเทศรัสเซีย  มิคาอิล กลินคา (Mikhail Glinka, 1804-1847) ซึ่งได้รับการศึกษาทางด้านดนตรีในแนวทางของเยอรมัน-ฝรั่งเศส   เริ่มเห็นความสำคัญของการสร้างดนตรีในแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของรัสเซียเอง  จึงเปลี่ยนแปลงแนวทางการประพันธ์เพลงโดยใช้ทำนองจากเพลงพื้นบ้าน และนิทานปรัมปราของรัสเซียเป็นเค้าโครงในการประพันธ์เพลงโอเปร่า
ต่อมา มิลิ บาลาคิเรฟ (Mily Balakirev, 1837-1910) รับแนวความคิดเรื่องดนตรีชาตินิยมรัสเซียมาจากกลินคา  และเริ่มหาสมัครพรรคพวกจนตั้งเป็นกลุ่ม เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ทางดนตรีกัน โดยมีเขาเป็นหัวหน้ากลุ่ม  นักดนตรีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย บาลาคิเรฟ, เซซาร์ คุย (Cesar Cui, 1835-1908), โมเดสต์ มูซอร์กสกี้ (Modest Mussorgsky, 1839-1881), นิโคไล  ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ (Nikolai Rimsky-Korsakov, 1844-1908) และ อเลกซานเดอร์ โบโรดิน (Alexander Borodin, 1833-1887)   แต่ละคนในกลุ่มนี้เป็นนักดนตรีสมัครเล่นทั้งนั้น  ไม่มีใครได้รับการศึกษาทางดนตรีอย่างเป็นแบบแผน  นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาสามารถแต่งเพลงขึ้นมาในแนวทางใหม่ ที่แหวกแนวไปจากระเบียบแบบแผนเดิมของทางยุโรป
ในกลุ่มนี้ มูซอร์กสกี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความคิดทางดนตรีที่ก้าวไกลกว่าท่านอื่น  บทเพลงของท่านหลายบทกลายเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีแบบรัสเซีย  แต่ว่าในช่วงปลายชีวิตท่านติดเหล้ามาก และมีอาการทางประสาทจนไม่สามารถเขียนงานได้สำเร็จ ทิ้งไว้ให้เพื่อนร่วมกลุ่มอย่าง ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ ประพันธ์ต่อหรือเรียบเรียงจนเสร็จ    ผลงานที่มีชื่อเสียงของท่าน ได้แก่  Pictures at an Exhibition ซึ่งประพันธ์ไว้สำหรับเดี่ยวเปียโน และต่อมาได้รับการเรียบเรียงสำหรับบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าโดย โมริส ราเวล (Maurice Ravel) ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส, A night on Bald Mountain และอุปรากรเรื่อง โบริส กูดานอฟ (Boris Gudanov)  อเล็กซานเดอร์ โบโรดิน (Alexander Borodin, 1833-1887) เข้าเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของกลุ่ม Mighty 5 ซึ่งได้รับการแนะนำให้เข้ากลุ่มโดยมูซอร์กสกี้ ในปี 1862  โบโรดินเป็นนักดนตรีสมัครเล่น มีอาชีพหลักเป็นหมอและนักเคมี ผลงานสำคัญในสายอาชีพของท่านคือการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์สำหรับสตรี ส่วนผลงานทางด้านดนตรีของท่านมีไม่มาก และใช้เวลายาวนานในการประพันธ์ผลงานแต่ละชิ้น บางชิ้นก็ไม่เสร็จในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ผลงานที่เด่นๆ ของท่านได้แก่ อุปรากรเรื่อง Prince Igor ที่มีเพลง Polovtsian Dances อันมีชื่อเสียงและมีผู้เอาไปใส่เนื้อร้องจนกลายเป็นเพลง "Stranger in Paradise", บทประพันธ์ symphonic poem เรื่อง In the Steppes of Central Asia ซึ่งมีกลิ่นอายแบบตะวันออก, และ String Quartet No.2 ที่มีทำนองไพเราะจนมีผู้นำไปประพันธ์เป็นละครบรอดเวย์เรื่อง Kismet  ท่านประพันธ์ซิมโฟนีไว้ 3 บท ซึ่งสะท้อนถึงดนตรีแบบชาตินิยมรัสเซียไว้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่า นิโคไล  ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ (Nikolai Rimsky-Korsakov, 1844-1908) อาจจะไม่ใช่บุคคลที่สำคัญที่สุดในกลุ่ม Mighty 5 และบางคนยังถือว่าท่านมีความสามารถน้อยที่สุดในกลุ่ม แต่ท่านมีผลงานการประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงและยังมีส่วนสำคัญในการนำผลงานของคนอื่นที่แต่งค้างไว้ มาแต่งหรือเรียบเรียงต่อจนเสร็จสมบูรณ์  ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ รับราชการเป็นทหารเรือในช่วงปี 1856-1862 ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ก่อนจะพบกับบาราคิเรฟ ซึ่งสนับสนุนให้ ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ แต่งเพลงซิมโฟนีบทแรก แต่ท่านใช้เวลาถึง 3 ปีบนเรือรบถึงได้ประพันธ์จนจบ ในปี 1871 ท่านได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์ที่สถาบันดนตรีชื่อ St.Petersburg conservatory ตอนแรกท่านลังเลไม่อยากรับตำแหน่ง เพราะท่านเองก็ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับดนตรี แต่บาราคิเรฟสนับสนุนให้รับตำแหน่งเพื่อที่จะได้ขยายอิทธิพลของกลุ่มออกไป ท่านเองต้องศึกษาล่วงหน้านักเรียนเพื่อจะได้มีความรู้ไปสอน และทำตัวเหมือนว่ารู้จริงในระหว่างนั้น จนในที่สุดท่านก็เรียนรู้จนแตกฉาน มีความรู้ทางทฤษฎีดนตรีอย่างดี  ท่านมีชื่อเสียงทางด้านการสอน (เคยเป็นครูสอน Stravinsky) การควบคุมวง และการประพันธ์ ท่านมักได้แรงบันดาลใจจากเพลงและตำนานพื้นบ้านมาประพันธ์เพลง
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่าน คงไม่พ้นบทประพันธ์ symphonic poem เรื่อง เชอเฮราซาด (Scheherazade) เจ้าหญิงในเรื่องอาหรับพันหนึ่งราตรี ที่เล่านิทานหลอกล่อให้กษัตริย์ติดใจคืนแล้วคืนเล่า เพื่อที่จะได้ไมฆ่านางทิ้ง  ผลงานที่มีชื่อเสียงรองมาคือ Capriccio Espagnol ซึ่งมีสำเนียงดนตรีและสีสันแบบสเปน แต่คนส่วนใหญ่อาจรู้จักท่านจากเพลงสั้นๆ ชื่อ Flight of the Bumble Bee จากอุปรากรเรื่อง Tsar Saltan ที่เป็นเสียงผึ้งบินหึ่งๆ  หัวหน้ากลุ่ม Mighty 5 ได้แก่ มิลิ บาราคิเรฟ (Mily Balakirev) ท่านเหมาะสมกับตำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม เพราะท่านคอยส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกในกลุ่มให้เขียนเพลง  นอกจากนี้ท่านยังส่งเสริมให้กำลังใจไชคอฟสกี้ให้ผลิตผลงานออกมาอีกด้วย ท่านมีบทบาทเป็นครูให้กับสมาชิกในกลุ่มโดยเฉพาะโบโรดิน  แต่วิธีการสอนของท่านค่อนข้างเป็นเผด็จการ เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างใจ ในช่วงหลังท่านคลายความสนใจจากการประพันธ์ดนตรี จึงทำให้กลุ่มสลายตัวไปในที่สุด ผลงานการประพันธ์ของท่านไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายเหมือนอย่างอีกสามท่านข้างบน 
บัลเลต์
ศิลปะการแสดงสุดคลาสสิกอันเก่าแก่และสวยงาม บัลเล่ต์มีต้นกำเนิดเป็นการแสดงในราชสำนักอิตาลีตั้งแต่ยุคเรอเนซองซ์ (ศตวรรษที่ 15) ทว่ามามีพัฒนาการจนมีหน้าตาเหมือนบัลเลต์ในปัจจุบันที่ฝรั่งเศส และกลายเป็นการแสดงที่แพร่หลายในรัสเซีย ก่อนที่ภายหลังจะมีการเติบโตไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่อเมริกา บัลเลต์มีพัฒนาการมากมายต่างไปจากจุดเริ่มในอิตาลี ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส หรือในศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้สร้างรูปแบบที่เป็นรากฐานของบัลเลต์คลาสสิกในปัจจุบัน กระทั่งราวปี 1850 ความรุ่งเรืองของบัลเลต์ย้ายวิกไปยังเดนมาร์กและรุ่งโรจน์สุดๆ ที่รัสเซีย จนเรียกได้ว่ากลายเป็นอาณาจักรของนักระบำปลายเท้าไปเลย
จาก ‘บัลโย’ สู่ ‘บัลเลต์’
    บัลเลต์ น่าจะมีรากศัพท์จาก บัลเยเร (Ballere) ในภาษาละตินแปลว่า เต้น เกิดขึ้นอย่างบังเอิญในงานแต่งงานของชนชั้นสูงในอิตาลี ที่นักดนตรีเพียงต้องการมอบความบันเทิงให้แขกผู้มาร่วมงานเท่านั้น ก็เลย “เต้น” (“บัลโย”– Ballo ภาษาอิตาเลียนแปลว่า เต้น) ให้ชมกัน ภายหลังคณะนักเต้นประจำราชสำนักฝรั่งเศสเห็นว่า เป็นการแสดงที่น่าจะมอบความบันเทิงให้ผู้ชมได้ จึงคิดว่าน่าจะมีดนตรี บทพูด บทร้อง ท่วงท่า รวมทั้งการออกแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับเรื่องราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคาเทรีน เด เมดิซี หญิงสาวอิตาเลียนจากตระกูลสูงผู้หลงใหลในศิลปะ ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายเฮนรีที่ 2 ของฝรั่งเศส พระนางก็ทรงผลักดัน รวมทั้งประธานทุนช่วยเหลือในการพัฒนา “บัลโย” สู่ “บัลเลต์” ด้วย บัลเลต์สมัยเรอเนสซองซ์ในอิตาลีห่างไกลจากบัลเลต์ที่เราเห็นในทุกวันนี้ นัก กระโปรงสุ่มสั้นๆ กับรองเท้าบัลเลต์ก็ยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น นักเต้นยังคงสวมใส่กระโปรงสุ่มแบบที่ปิดคลุมถึงข้อเท้าเช่นที่ผู้หญิงทั่วๆ ไปสวมใส่กัน
ศตวรรษ 17 รากฐานบัลเลต์
    เวลาผ่านไปถึง 2 ศตวรรษ จึงเกิดการปฏิวัติในบัลเลต์ขึ้นที่ฝรั่งเศส อย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนรูปแบบไปจากจุดเริ่มต้น อาจเนื่องเพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในศิลปะการแสดง รวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้น ในปี 1661 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดฯ ให้ก่อตั้งสถาบันการระบำ หรืออะคาเดมี รัวยาล เดอ ลา ดองส์ (Academie Royale de la Danse ปัจจุบันคือ ปารีส โอเปรา บัลเลต์-Paris Opera Ballet) พร้อมๆ กันนั้น ท่าพื้นฐานของบัลเลต์คลาสสิก 5 ท่วงท่าก็ได้รับการบัญญัติขึ้น
    อง-บัปติสต์ ลุลยี นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนที่ทำงานรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศส มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาดนตรีสำหรับบัลเลต์ตลอดศตวรรษต่อมา เขาเป็นอีกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยความที่เขาเป็นนักเต้นเองด้วย ทำให้มีความเข้าใจในท่วงท่า และแต่งเพลงสนับสนุนความเคลื่อนไหวของนักเต้นได้เป็นอย่างดี
    เขาทำงานร่วมกับอง-บัปติสต์ โปเกอแลง นักเขียนบทละครเจ้าของนามปากกา โมลิแยร์ ทั้งคู่นำเอาสไตล์การละครแบบอิตาลี ทั้งสุขและโศกนาฏกรรมมาผสมผสานกันกลายเป็นบัลเลต์สนุกๆ ให้คนฝรั่งเศสชม โดยมีบัลเลต์เรื่องดัง อย่าง Le Bourgeois Gentilhomme (1670) อง-บัปติสต์ ลุลยี ยังเป็นผู้กำกับคนแรกของโรงละครแห่งสถาบันรัวยาล เดอ มูซิก (Royale de Musique) ซึ่งนับเป็นสถาบันที่เป็นรากฐานของดนตรีบัลเลต์
    การเรียนการสอนบัลเลต์อย่างจริงๆ จังๆ ก็เริ่มต้นขึ้นที่ฝรั่งเศสนี่เอง นั่นทำให้ชื่อเรียกท่วงท่าต่างๆ ของบัลเลต์ส่วนใหญ่จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่านักเต้นจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสหรือไม่ แต่พวกเขาก็จะรู้กันหากเอ่ยคำนี้ขึ้นมาจะหมายความถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็น ออง เดอดองส์ (En dedans) ปอร์กต์ เดอ บราส์ (Port de bras) โซต์ เดอ ชาต์ (Saut de chat) ตูร์ ซอง แลร์ (Tours en l’air) ตงเบ (Tombe) ฯลฯ
Classical ballet
ศตวรรษ 18 เติมเต็มศิลปะ
ศตวรรษ ต่อมา นอกจากบัลเลต์ในฝรั่งเศสจะมีรากฐานที่เข้มแข็งแล้ว ยังเริ่มมีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมเต็มความคิดทางศิลปะเข้าไป ด้วยการนำเรื่องราวแบบโอเปรามาถ่ายทอดด้วยการเต้นและการเคลื่อนไหวแบบบัลเล ต์ โดยนอกจากนักแสดงจะต้องเต้นท่าบัลเลต์เก่งแล้ว ยังต้องสามารถถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของตัวละครตามบทบาทต่างๆ ได้อีกด้วย
การ ปฏิวัติวงการบัลเลต์ไปในรูปแบบดังกล่าว เห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจนในศตวรรษต่อๆ มา การแสดงเป็นเรื่องราวมีตัวเอก ตัวรอง ทำให้มีการแจ้งเกิดนักแสดงบัลเลต์มากมาย โดยเฉพาะนักแสดงหญิงที่พัฒนาเทคนิคในการเต้นเฉพาะของตัวเองจนกลายเป็นดาว เด่น อย่าง แจนวิแยฟ กอสเซอแลง มารี ตาโกลนี และแฟนนี เอลสเลอร์ ที่ได้ช่วยกันพัฒนาเทคนิคการเต้นแบบพอยต์เท้า (อันเป็นที่มาของคำเรียก “ระบำปลายเท้า”) ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของการเต้นบัลเลต์ในปัจจุบัน ทั้งยังมีการพัฒนารองเท้าบัลเลต์ชนิดที่มีส่วนหัวเป็นโฟม เพื่อความง่ายในการเต้นด้วยปลายเท้านั่นเอง
ด้วยความโดดเด่นของนักบัล เลต์หญิง ทำให้เรื่องราวที่นิยมในการนำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงบัลเลต์ จึงเป็นเรื่องราวแนวโรแมนติก โดยเฉพาะเนื้อหาจากเทพนิยายต่างๆ ซึ่งส่งผลถึงการออกแบบท่าเต้นให้มีการหมุนตัว กระโดดสูง กระโดดแยกขา รวมทั้งการจัดวางท่วงท่าวงแขนและร่างกายให้ได้อารมณ์อันซาบซึ้ง เรื่อง La Sylphide นับเป็นโรแมนติกบัลเลต์เรื่องแรกๆ และยังได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้
ยุคทองของบัลเลต์
มาริอุส ซึ่งเป็นนักออกแบบท่าเต้น ยังร่วมงานกับเพเทอร์ ไชคอฟสกีในบัลเลต์เรื่องดังๆ ของโลก อย่าง The Nutcracker (1892) และ The Sleeping Beauty (1890) ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของรัสเซียทีเดียว
จาก เรื่อง Swan Lake นี่เองทำให้เกิดกระโปรงสั้น ที่เรียกว่า ตูตู้ (Tutu) อย่างที่เราเห็นทั้งหงส์ขาวหงส์ดำในเรื่องดังกล่าวสวมใส่ ภายหลังกลายเป็นกระโปรงที่สวมกันในนักเต้นบัลเลต์ทั่วไป
บัลเลต์รัส เซียมียุคทองอยู่ได้ไม่นานก็เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ทั้งนักแต่งเพลง นักออกแบบท่าเต้น และนักแสดงจำนวนมากพากันอพยพออกนอกประเทศ โดยเฉพาะการอพยพมาจุดกำเนิดของบัลเลต์คลาสสิก อย่าง ฝรั่งเศส ของเซอร์เก ดิอากิเลฟ ที่มาเปิดบริษัท บัลเลต์รัสเซีย (Ballets Russes) ในกรุงปารีส อันเป็นศูนย์กลางของบัลเลต์รัสเซียหลังจากปฏิวัติบอลเชวิกส์
โดยส่วนใหญ่ บัลเลต์ในปัจจุบันก็มักจะไม่ทิ้งเรื่องราวคลาสสิกเดิมๆ ที่มีการสร้างสรรค์เอาไว้แล้วตั้งแต่สมัยยุคทองของรัสเซีย การชมบัลเลต์ที่สวยงามจึงมักตัดสินกันที่ความสามารถของนักแสดงตัวเอกเป็น หลัก ว่าจะถ่ายทอดท่วงท่า ลีลา และอารมณ์ที่เป็นจุดเด่นของบัลเลต์แต่ละเรื่องออกมาได้โดดเด่นขนาดไหน
ขณะ ที่ในส่วนของศิลปินบัลเลต์มากมายที่หลั่งไหลมาสู่ฝรั่งเศสหลังการปฏวัติรัส เซีย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจข้ามน้ำไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นพัฒนาการในบัลเลต์ครั้งใหญ่อีกหน ไปสู่ยุคของนีโอคลาสสิกบัลเลต์ ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบตามการสร้างสรรค์ของศิลปินไปเป็นบัลเลต์ร่วมสมัย (Contemporary Ballet)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น