วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2557

สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า

              สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (อังกฤษBermuda Triangle) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ(อังกฤษDevil's Triangle) เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกโลกหลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าวว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก

สามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีเนื้อที่ประมาณ 1.14 ล้านตารางกิโลเมตร (4.4 แสนตารางไมล์) อยู่ระหว่างจุด 3 จุด ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นเกาะตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกและดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุมช่องแคบฟลอริดา หมู่เกาะบาฮามาส และหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมด แต่แนวคิดที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า เนื่องจากปรากฏในงานเขียนจำนวนมาก ระบุว่า จุดปลายสุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้แก่ ชายฝั่งแอตแลนติกของไมอามีซานฮวนเปอร์โตริโก, และเกาะเบอร์มิวดา ด้วยเหตุว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งด้านใต้โดยรอบหมู่เกาะบาฮามาสและช่องแคบฟลอริดา

พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีเรือผ่านพื้นที่นี้เป็นประจำทุกวันมุ่งหน้าไปยังเมืองท่าในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และหมู่เกาะแคริบเบียน เรือสำราญที่ผ่านพื้นที่นี้ก็มีมากเช่นกัน เรือเที่ยวเองก็มักจะมุ่งหน้าไปและกลับระหว่างฟลอริดากับแคริบเบียนอยู่เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรทางอากาศอย่างหนาแน่น ทั้งอากาศยานพาณิชย์และส่วนตัว ซึ่งมุ่งหน้าไปยังฟลอริดา แคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้

   



   

วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

Son of God

                    Son of God

    

Rulers have often assumed titles such as son of godson of a god or son of Heaven.Roman Emperor Augustus referred to his relation to his deified adoptive father, Julius Caesar, as "son of a god" via the term divi filius which was later also used by Domitian.

In the New Testament, the title "Son of God" is applied to Jesus on many occasions.It is often seen as referring to his divinity, from the beginning in the Annunciation up to theCrucifixion.The declaration that Jesus is the Son of God is made by many individuals in the New Testament, and on two separate occasions by God the Father as a voice from Heaven, and is asserted by Jesus himself.

To most Trinitarian Christian denominations"Son of God" refers to the divine relationship between Jesus and God, specifically as "God the Son". To nontrinitarian Christians, the term "Son of God", applied to Jesus in theNew Testament, is accepted, while the non-biblical "God the Son" is not.


Dreamcatcher ตาข่ายดักฝัน

      Dreamcatcher ตาข่ายดักฝัน


    

ชนเผ่าพื้นเมืองในอเมริกาหรือที่เรียกกันว่า เผ่าอินเดียนแดง มีการสร้างงานหัตถกรรมของชนเผ่าที่เชื่อกันว่าเป็นเครื่องรางดักจับความฝัน เรียกกันว่า “Dreamcatcher”มีความหมายถึง “ตาข่ายดักฝัน” หรือ “เครื่องดักความฝัน” หัตถกรรมอินเดียนแดงชิ้นนี้เชื่อกันมาตั้งแต่โบราณว่าจะช่วยกรองฝัน ให้ฝันดีอยู่กับตัว และฝันร้ายสลายไป ลักษณะของตาข่ายดักฝันหรือเครื่องดักฝันจะเป็นห่วงวงกลม ข้างในถักทอเป็นตาข่าย และด้านล่างจะประดับประดาด้วยขนนก ลูกปัด รวมทั้งเครื่องประดับเล็กๆน้อยๆอื่นๆ

ตาข่ายดักฝันมีที่มาจากอินเดียแดงเผ่าโอจิบวี(Ojibwe) หรือ ชนเผ่าชิปเปวา (Chippewa) ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา ชนเผ่าชิปเปวาเชื่อกนว่า แมงมุมมีพลังอำนาจวิเศษที่สามารถทอใยดักจับความฝันได้เหมือนกับที่มันดักจับสัตว์เป็นอาหารนั่นเอง  แม้ว่าวันเวลาที่มีการคิดสร้างตาข่ายดักฝัน  ไม่มีใครรู้ที่มาว่ามีมาตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็พอสันนิษฐานได้ว่าน่าจะก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่นาน

   ชนเผ่าโอจิบวีเป็นอีกชนเผ่าหนึ่งที่นิยมประดิษฐ์สร้างตาข่ายดักฝันไว้เป็นจำนวนมาก กลายเป็นว่า ตาข่ายดักฝันเป็นสัญลักษณ์ของความร่วมมือร่วมใจเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของชนเผ่าต่างๆที่เป็นกลุ่มน้อยอยู่ในอเมริกา จนกระทั่งมันกลายมาเป็นของขวัญของกำนัลจากร้านขายของที่ระลึกในเขตที่อยู่อาศัยของชาวอินเดียแดงในปัจจุปัน 

 

 วัฒนธรรมอินเดียแดง ซึ่งปัจจุบันจะไม่เรียกว่า “อินเดียนแดง” แล้ว แต่จะเรียกกันว่า “ชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกัน (Native American)” ถือว่า “ขนนก” เป็นสัญลักษณ์ของ “อากาศ” และ “ลมหายใจ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การมีชีวิต กรรมวิธีการทำเครื่องดักฝันจะทำมาจากเกลียวเชือกจากต้นวิลโลว์ มาถักทอเป็นโครงวงกลมโดยมีตาข่ายอยู่ด้านใน

ด้านล่างจะตกแต่งประดับประดาด้วยขนนกแบบต่างๆดังนั้น ตาข่ายดักฝันหรือเครื่องดักฝัน จึงกลายมาเป็นเครื่องรางมงคลที่นิยมห้อยแขวนไว้เหนือเปลเด็กในทางคติความเชื่อก็คือ เครื่องหมายนำอากาศเข้าสู่ลมหายใจและนำโชคดีมาให้เด็กๆ

ส่วนทางจิตวิทยาก็คือ ตาข่ายดักฝันประดับขนนกเหล่านี้จะทำหน้าที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กๆได้เป็นอย่างดี เพราะสายตาที่จับจ้องมองการแกว่งไกวของขนนกที่ส่ายไหวดั่งระบำขนนก จะช่วยทำให้ทารกมีพัฒนาการการเรียนรู้ทางสายตาและกล้ามเนื้อต่างๆได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันมันคือเครื่องรางที่ช่วยกรองฝันดีมาสู่เด็กๆ และสกัดฝันร้ายไม่ให้มากล้ำกราย แต่ถึงกระนั้น ก็มีวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่นำไปแขวนประดับเหนือเตียงนอน จนกลายเป็นแฟชั่นแบบอย่างหนึ่ง แต่ทว่า การดักจับความฝันคงทำไม่ได้กับนิสัยพวกเขา เพราะวัยผู้ใหญ่นั้นจิตใจไม่ได้ใสสะอาดเหมือนเด็กๆ เครื่องดักฝันจึงอาจไม่ช่วยอะไรไม่ได้เลย

 ยังมีเครื่องรางต่างๆอีกมากมายที่เชื่อว่ามีอำนาจพิทักษ์ความฝัน  ซึ่งถูกนำมาใช้ห้อยแขวนเหนือตียงนอนขวางทารกและเด็กๆเพื่อปกป้องให้พ้นจากฝันร้ายและหลบเลี่ยงพลังอันชั่วร้ายที่มองไม่เห็นได้สำเร็จ แต่หลายๆคนกลับนิยมเลือกตาข่ายดักฝัน ด้วยเพราะมนุษย์สัมผัสได้ถึงอำนาจเร้นลับจากสิ่งชั่วร้ายที่อาจซ่อนตัวอยู่ในกระจก ต้นไม้ หรือกรอบหน้าต่าง ดังนั้น การแขวน “ตาข่ายดักฝัน” ก็เพื่อช่วยปกป้องเด็กๆให้พ้นจากภัยมืด เพราะฝันร้ายเหล่านั้นจะถูกกักขังไว้ในตาข่ายไม่ให้ออกไปไหนอีกเลย จนกระทั่งถึงยามผ้าสาง ฝันร้ายจะมลายหายไปเอง ส่วนฝันดีจะถูกกรองผ่านรูตาข่ายไปสู่เด็กๆ ตลอดยามราตรี

    อันตรายแสงจากโทรศัพท์มือถือ

    ทั่วไป

    ปัจจุบัน โทรศัพท์มือถือ (Cell phone, Cellular telephone, Mobile phone) เป็นอีกสิ่งจำเป็นในการใช้ชีวิต โดยเฉพาะของคนเมือง และเช่นเดียวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ที่ต้องมีรังสีแผ่ออกมาขณะกำลังใช้เครื่อง เช่น ทีวี หลอดไฟฟ้า และเตาไมโครเวฟ แต่ความแตกต่าง ที่ก่อให้เกิดความกังวลกับองค์กรต่างๆด้านสุขภาพมาก เพราะโทรศัพท์มือถือ ขณะใช้ ต้องอยู่ติดกับ ผิวหนัง หู และสมองของเรา ซึ่งทำให้โอกาสได้รับรังสีของเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เหล่านั้นสูงขึ้น ดังนั้น จึงกำลังมีการศึกษามากมายถึงผลกระทบของรังสีจากการใช้โทรศัพท์ มือถือ ทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวเป็น 10 ปีขึ้นไป

    มีรังสีจากโทรศัพท์มือถือจริงหรือ?

    มีรังสีจากโทรศัพท์มือถือ จริง โทรศัพท์มือถือ เมื่อเปิดเครื่องฯ จะมีรังสีออกมาจากตัวเครื่องฯ และจะมีรังสีปริมาณสูงมากขึ้นขณะมีการใช้เครื่องฯ แต่จะไม่มีรังสีเมื่อปิดเครื่องฯ หรือเมื่อเครื่องฯปิด

    รังสีจากโทรศัพท์มือถือ คือรังสีอะไร?

    รังสีจากโทรศัพท์มือถือ เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic radiation) ประเภท นัน-ไอออนไนซ์ (Non-ionizing radiation) เรียกว่า รังสีเรดิโอฟรีเควนซี หรือ เรียกย่อว่า รังสี อาร์เอฟ (Radiofrequency radiation, RF radiation) รังสีชนิด/ประเภทนี้ อาจทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ (DNA คือ สารพันธุ กรรมสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์) เกิดบาดเจ็บเสียหาย โดยไม่มีการแตกตัวของดีเอ็นเอเป็นประจุลบ และประจุบวก ซึ่งเซลล์จะบาดเจ็บมากหรือน้อยขึ้น กับปริมาณรังสีที่เซลล์ได้รับ จัดเป็นรังสีอยู่ในประเภทเดียวกับรังสีคลื่นวิทยุ รังสีจากความร้อน รังสีจากแสงแดด และรังสีจากเตาไมโครเวฟ
    รังสีจากโทรศัพท์มือถือ ต่างจากรังสีเอกซ์/รังสีโฟตอน (X-rays/Photon) ซึ่งใช้ตรวจและรักษาโรค โดยรังสีจากการตรวจ/รักษาโรค จะทำให้เซลล์เกิดบาดเจ็บเสียหาย และอาจตายได้ จากการทำให้ ดีเอ็นเอ แตกตัวเป็นประจุลบ และประจุบวก ซึ่งจัดเป็นรังสีประเภท ไอออนไนซ์ (Ionizing radiation) ซึ่งรังสีไอออนไนซ์ (ในปริมาณที่เท่ากับรังสีนัน-ไอออนไนซ์) สามารถทำให้เซลล์ บาดเจ็บเสียหายได้มากกว่า รังสีประเภทนัน-รังสีไอออนไนซ์มาก

    เมื่อเซลล์ร่างกายได้รับรังสีแล้วจะเกิดอะไรขึ้น?

    เมื่อเซลล์ (ดีเอ็นเอ)ได้รับรังสีไม่ว่าจะเป็นรังสีประเภทใด (แต่ต้องเป็นในปริมาณที่มากพอ และได้รับรังสีอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลานาน หลายๆเดือน หรือหลายๆปี) จะทำให้เซลล์เกิดบาดเจ็บเสียหาย ซึ่งถ้าร่างกายซ่อมแซมให้กลับเป็นปกติไม่ได้ เซลล์ที่บาดเจ็บเหล่านี้ อาจเกิดการกลายพันธุ์เป็น เซลล์เนื้องอก หรือเซลล์มะเร็งได้
    เด็กใช้โทรศัพท์มือถือได้ แต่ควรใช้เฉพาะ เมื่อมีความจำเป็น องค์การอนามัยโลก ประเทศออสเตรเลีย และองค์กรต่างๆ ได้เตือนถึงการใช้โทรศัพท์ มือถือในเด็ก หรือในคนอายุต่ำกว่า 18 ปี และแนะนำว่า ควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อลดปริมาณรังสีสะสมตลอดชีวิตที่เด็กจะได้รับ ควรใช้ต่อเมื่อมีความจำเป็น หรือ ในภาวะฉุกเฉิน และใช้เวลาพูดในแต่ละครั้งให้สั้นที่สุด เท่านั้น ที่เตือนในอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะในเด็ก/คนอายุต่ำกว่า 18 ปี เซลล์ของร่างกาย ยังเจริญ เติบโตไม่เต็มที่ จึงมีความไวต่อรังสีทุกชนิด ทุกประเภท สูงกว่าในคนอายุ 18 ปีขึ้นไป และ มีอายุขัยยาวนานกว่าผู้ใหญ่ จึงมีโอกาสได้รับรังสีสะสมตลอดชีวิตสูง ดังนั้น โอกาสเกิดอันตรายจากรังสีทุกชนิด และโอกาสเกิดเซลล์กลายพันธุ์ ของคนอายุต่ำกว่า 18 ปีจึงสูงกว่า

    ป้องกันรังสีจากโทรศัพท์มือถือได้ไหม?

    ถึงแม้การศึกษาเรื่องโทษของรังสีจากโทรศัพท์มือถือ ยังไม่ชัดเจน ยังโต้แย้งกันอยู่ แต่โดยทฤษฎี มีความเป็นไปได้ ที่จะเกิดอันตรายจากรังสี จากโทรศัพท์มือถือ ดังนั้น จึงควรป้องกันไว้ก่อน ซึ่งจะเกิดประโยชน์มากกว่า และไม่มีข้อเสียหาย
    คำแนะนำจากองค์กรต่างๆในการใช้โทรศัพท์มือถือ แนะนำทั้งในเด็ก และในผู้ใหญ่ เพื่อเป็นการลดปริมาณรังสีที่จะได้รับจากใช้โทรศัพท์มือถือ สรุปที่สำคัญได้ดังนี้
    • ในเด็ก และคนอายุต่ำกว่า 18 ปี ควรใช้มือถือ ต่อเมื่อมีความจำเป็น หรือในภาวะฉุกเฉินเท่านั้น และควรใช้เวลาในการพูดแต่ละครั้งให้สั้นที่สุด
    • ทุกๆคน ทุกๆวัย ควรใช้มือถือให้น้อยที่สุด หรือใช้มือถือสื่อสารด้วยวิธีการอื่นแทน เช่น การส่งข้อความ เป็นต้น
    • เมื่ออยู่บ้านควรใช้โทรศัพท์บ้าน
    • ลดการสัมผัสโดยตรงกับโทรศัพท์มือถือในขณะเปิดเครื่องฯ (โดยเฉพาะในเด็ก) โดยการใช้เครื่องช่วยฟังชนิดต่างๆ จะช่วยลดปริมาณรังสีที่ได้รับลงมาก เพราะความเข็มของรังสีจะแปรผกผันเป็นกำลังสองกับระยะทาง ดังนั้น ยิ่งอยู่ห่างจากต้นกำเนิดรังสี (ตัวเครื่องฯ ในขณะเปิดเครื่องฯใช้งาน) ยิ่งได้รับรังสีน้อยลง
    • อย่าเปิดเครื่องฯไว้ใกล้ตัว เพราะเมื่อเปิดเครื่อง จะมีรังสี ถึงแม้จะมีน้อยกว่าในขณะพูดก็ตา
    • หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือในรถ เพราะในรถมีเนื้อที่จำกัด และมีส่วน ประกอบของโลหะจึงทำให้เกิดการสะท้อนของรังสีได้สูง เป็นการเพิ่มปริมาณรังสีให้ร่างกายได้รับ สูงขึ้น
    • เลือกซื้อมือถือยี่ห้อได้มาตรฐาน เพราะในกระบวนการผลิต เครื่องฯที่ได้มาตรฐานจะอยู่ในการควบคุมความปลอดภัยด้านการแผ่รังสีขณะใช้งาน จากหน่วยงานของประเทศผู้ผลิต
    สำหรับประเทศไทย ควรเลือกซื้อมือถือที่มี ค่ากำหนดระดับการดูดกลืนพลังงาน อยู่ในมาตรฐานที่ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ) กำหนด หมายความง่ายๆว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ยังไม่มีรายงานว่า ก่อให้เกิดอันตรายในมนุษย์ ค่านี้เรียกว่า ค่าดูดกลืนพลังงานจำเพาะ (Specific Absorption Rate ตัวย่อ คือ SAR/เอส เอ อาร์) กล่าวคือ มือถือที่ใช้ควรมีค่า เอสเออาร์ ซึ่งอาจเขียนไว้บนกล่อง หรือ ในเอกสารคู่มือการใช้เครื่องฯ สำหรับทั่วร่างกาย ไม่เกิน 0.08 W/kg (วัตต์ ต่อกิโลกรัม) เฉพาะส่วนศีรษะและลำตัว ไม่เกิน 2 W/kg และเฉพาะส่วนแขน/ขาไม่เกิน 4 W/kg

    มีข้อจำกัดในการใช้ค่ากำหนดระดับการดูดกลืนพลังงานอย่างไร 

    ค่าเอสเออาร์ เป็นตัวบอกเพียงว่า โทรศัพท์เครื่องนี้มีค่าดูดกลืนพลังงานของเนื้อเยื่อไม่เกินค่าที่กำหนดไว้ ไม่ได้บอกว่าปลอดภัยจากการใช้เต็มร้อย แต่ขณะนี้ มีเพียงค่านี้เท่านั้น ที่พอบอกเราได้ว่าเราได้รับรังสีอยู่ในระดับที่ยังไม่มีรายงานในขณะนี้ (เดือน พฤษภาคม 2554) ว่าก่ออันตรายต่อเรา
    ซึ่งต้องระลึกอยู่เสมอว่า โทรศัพท์มือถือพึ่งเริ่มใช้อย่างกว้างขวางในระยะ เวลาเพียงประมาณ 10 ปีมานี้เอง ดังนั้น การศึกษาทุกการศึกษาจึงมีข้อจำกัดในเรื่องของช่วงเวลา ซึ่งในระยาวกว่านี้ คือ มากกว่า 10 ปีขึ้นไป ยังไม่มีใครรู้ว่า ผลจะออกมาเป็นอย่างไร?
    ดังนั้น การดูแลตนเองในการใช้โทรศัพท์มือถือ จึงควรต้องขึ้นกับทั้งค่า เอสเออาร์ การประกาศของไออาร์ค และคำแนะนำจากองค์กรต่างๆดังได้กล่าวแล้วในตอนต้น

    วันอาทิตย์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2557

    Such กับ So ใช้งานอย่างไร?


    โครงสร้างเป็นดังต่อไปนี้

    Subject + V. to Be + such + article + adj. + noun 
    ซึ่งเท่ากับ
    ประธาน + ช่างจะเป็น + นาม + คุณศัพท์ เช่น


    ตัวอย่าง


    It's such a beautiful day. 
    วันนี้ช่างจะเป็นวันที่สวยงาม
    She is such a great person.
    เธอช่างเป็นคนดี

    It's such a horrible day.
    วันนี้ช่างจะเป็นวันที่แย่
    It's such a sucky day.
    วันนี้ช่างจะเป็นวันที่ห่วย

    I had such a horrible day today at work. 
    วันนี้ที่ทำงานก็เป็นวันที่ห่วยมากๆ

    ใช้งานเหมือนกับ so แต่ so จะตามด้วย คำคุณศัพท์อย่างเดียว โครงสร้างจะเป็นดังต่อไปนี้
    Subject + V. to Be + so + adj. ซึ่งเท่ากับ


    ประธาน + คุณศัพท์ + มาก


    เช่น


    He is so smart.
    เค้าฉลาดมาก
    He is so nice. 
    เค้าใจดีมาก
    He is so mean.
    เค้าใจร้ายมาก



    นอกจากมีคำว่า such a แล้วยังมีอีกคำหนึ่งคือ 
    such as  ซึ่งแปลว่า เช่น นั่นเอง
    เช่น
    I like many types of food such as Thai food, 
    Japanese food, and Chinese food. 
    ฉันชอบอาหารหลายๆประเภท เช่น อาหารไทย 
    อาหารญี่ปุ่น และอาหารจีน

    หรือบางทีเราพูดอะไรมาแล้วอยากจะเอ่ยถึงสิ่งนั้นที่เราว่ามาสามารถใช้คำว่า such ได้  เช่น
    Hey! Adam, you shouldn't talk to someone so rudely. 
    นี่! อดัมคุณไม่ควรพูดจาหยาบคายกับเค้า 
    I would never do such a thing. 
    ผมไม่มีวันที่จะทำสิ่งแบบนั้น
    such a thing = สิ่งแบบนั้น