วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

once upon a dream


น้ำตาอาบมหาภูเขา


                      น้ำตาอาบมหาภูผา

Story

ในวันที่จะกลายเป็นวันวิปโยคที่สุดในประวัติศาสตร์ของภูเขาที่สูงที่สุดในโลก  นีมา ชีริง ชาวเชอร์ปาวัย 29 ปีจากหมู่บ้านคุมจุง ย่ำเท้าออกไปทำงานตอนตีสาม เขาแบกถังแก๊สหุงต้มหนัก 29 กิโลกรัมไว้บนหลัง เบื้องหลังเขาคือหมู่บ้านชั่วคราวของเบสแคมป์เอเวอเรสต์ (Everest Base Camp) ที่ซึ่งสมาชิกของคณะนักปีนเขานานาชาติราว 40 คณะกำลังหลับใหลอยู่ในเต็นท์ สูงจากเขาขึ้นไปคือแสงจากไฟฉายคาดศีรษะส่องเป็นทางวูบวาบท่ามกลางความมืด  ระหว่างที่ชาวเชอร์ปาและคนงานชาวเนปาลเผ่าอื่นๆกว่า 200 ชีวิต เดินเรียงแถวไปตามทางโตนน้ำแข็งคุมบูซึ่งถือเป็นบริเวณที่อันตรายที่สุด มีลักษณะคล้ายเขาวงกตสูงชัน เคลื่อนขยับตลอดเวลา และเต็มไปด้วยเสาน้ำแข็งง่อนแง่น เหวน้ำแข็ง และน้ำแข็งผิดรูปผิดร่างที่ไหลย้อยเป็นระยะทาง 610 เมตรลงสู่โกรกธารที่อยู่ระหว่างไหล่เขาฝั่งตะวันตกของเมานต์เอเวอเรสต์และนุปเซ  ยอดเขาสูง 7,849 เมตรที่ตระหง่านง้ำอยู่เหนือเบสแคมป์
สหายชาวเชอร์ปาหลายคนของนีมา ชีริง ย้ำเท้ามุ่งหน้าสู่โตนน้ำแข็งดังกล่าวก่อนหน้าเขาในเช้าวันที่ 18 เมษายน ก่อนออกเดินทาง พวกเขารองท้องด้วยอาหารเช้าพื้นเมืองประกอบด้วยด้วยชาและโจ๊กทำจากแป้งข้าวบาร์เลย์เรียกว่า ซัมบา จากนั้นจึงยกข้าวของที่แพ็กไว้ตั้งแต่คืนก่อนขึ้นพาดบ่า บางคนลำเลียงเชือก พลั่วตักหิมะ สมอบก และอุปกรณ์อื่นๆ ที่จะใช้ขึงเชือกให้เป็นราวมืออยู่กับที่ขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุดของเอเวอเรสต์ที่ระดับความสูง 8,850 เมตร ส่วนคนอื่นๆลากอุปกรณ์สารพัดที่จะใช้ตั้งแคมป์อีกสี่แคมป์ซึ่งอยู่สูงขึ้นไประหว่างทางสู่ยอดเขา
แม้จะต้องแบกหามข้าวของคนละอาจมากถึง 45 กิโลกรัม แต่ชาวเชอร์ปาส่วนใหญ่ก็แข็งแรงพอที่จะปีนระยะทาง 3.3 กิโลเมตรขึ้นไปยังแคมป์หนึ่งได้ภายในสามชั่วโมงครึ่งหรือน้อยกว่านั้น หลังปีนขึ้นมาจากเบสแคมป์ได้หนึ่งชั่วโมง นีมา ชีริง ซึ่งทำงานให้นักปีนเขาจากจีนคณะหนึ่ง ก็รุดมาถึงบริเวณที่เรียกกันว่า ป็อปคอร์นฟีลด์ (Popcorn Field) ซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นทางสูงชันขึ้น ต้องปีนผ่านก้อนน้ำแข็งแตกหักระเกะระกะ และมีบันไดพาดเชื่อมจำนวนมาก ถัดจากตรงนี้ขึ้นไปข้างหน้าเป็นพื้นที่ราบเรียกว่า ฟุตบอลฟีลด์ (Football Field) ซึ่งนักปีนเขามักหยุดแวะพักกัน และเป็นเรื่องปกติที่จะได้ยินน้ำแข็งส่งเสียงครืดคราด ขณะที่ธารน้ำแข็งคุมบูสั่นสะท้านขยับไหลไปข้างหน้าด้วยอัตราความเร็วราวหนึ่งเมตรต่อวัน เหนือฟุตบอลฟีลด์ขึ้นไปเป็นเขตอันตรายมากอีกเขตหนึ่ง เพราะเต็มไปด้วยก้อนน้ำแข็งขนาดเท่าคฤหาสน์และแท่งน้ำแข็งยอดแหลมง่อนแง่น หากผ่านช่วงนี้ไปได้ การปีนเขาของนีมา ชีริง จะง่ายขึ้น  เพราะธารน้ำแข็งคุมบูจะแผ่ราบเรียบเป็นทุ่งสีขาวกว้างใหญ่ไพศาลที่เรียกว่า เวสเทิร์นคูม (Western Cwm)
ราวหกโมงเช้า เหนือฟุตบอลฟีลด์ขึ้นไป นีมา ชีริง ปีนไปถึงฐานของผาน้ำแข็งสูงราว 12 เมตร จากตรงนั้น เขาเริ่มภารกิจการปีนป่ายอันงุ่มง่ามขึ้นทางบันไดอลูมิเนียมมัดเชื่อมต่อกันสามอัน พร้อมสัมภาระนักอึ้งบนหลัง  พอไต่ขึ้นถึงยอดผา เขารู้สึกเหนื่อยใจเมื่อเห็นคนงานปีนเขาหลายสิบคนยืนออกันอยู่บนหิ้งน้ำแข็งลาดเอียงขนาดประมาณเท่าห้องอาหาร บางคนเข้าไปเรียงแถวรอปีนลงไปในร่องลึกทางบันไดมัดต่อกันสองอัน ในเช้าวันนั้น น้ำแข็งขยับตัวอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ทำให้สมอบกช่วงปลายด้านล่างของบันไดที่ใช้ไต่ลงหลุดออกมา ส่งผลให้การจราจรบนเส้นทางนั้นติดขัด คนที่มาถึงพื้นที่ส่วนนี้ตอนตีห้าเล่าว่าเกิดการล่าช้าอยู่นาน แม้จะตอกสมอบกยึดบันไดเข้าที่แล้ว  ตอนที่นีมา ชีริง ไปถึงตรงนั้นอีกหนึ่งชั่วโมงให้หลัง เขาพบว่า สมอบกก็หลุดออกมาอีก
"ผมว่ามีคนไปอออยู่ตรงนั้นเกินร้อยคน หลายคนไต่ลงไปด้วยการเกาะเชือก ต้องใช้เวลาตั้งครึ่งชั่วโมงกว่าจะผ่านช่วงคอขวดนี้ไปได้ ตอนนั้นละครับที่ผมรู้สึกกลัวขึ้นมามากๆ" เขาบอก

ในเนปาล ลางสังหรณ์ถึงอันตราย บางครั้งจะรับรู้ได้ในรูปเสียงแหลมสูงอื้ออึง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า คานรูนู (kan runu) หรือหูร้อง (crying ear)  นีมา ชีริง ผู้พิชิตยอดเขาเมานต์เอเวอเรสต์มาแล้วสามครั้งเคยได้ยินหูเขาร้องมาก่อนแล้วและรู้ดีเกินกว่าจะเพิกเฉย  เขาสับสนลังเลมากว่า จะแบกสัมภาระมุ่งหน้าไปยังแคมป์หนึ่งต่อตามหน้าที่ หรือจะทิ้งถังแก๊สไว้ก่อนเท่าที่มาไกลได้ที่สุด แล้วกลับลงไปทันที  เขาพยายามวิทยุติดต่อเซอร์ดาร์ (หัวหน้าลูกหาบ) ที่เบสแคมป์ แต่เจ้านายเขาลงไปจัดหาเสบียงอยู่ที่หมู่บ้านนัมเชบาซาร์ นีมา ชีริงติดต่อกับพ่อครัวที่แคมป์ได้เพียงคนเดียว เขาบอกพ่อครัวว่า หูเขากำลังร้อง และเขาจะทิ้งสัมภาระยึดไว้กับเชือกก่อน แล้วจะกลับลงมา เชอร์ปาคนอื่นๆถามเขาว่า เขาทำแบบนั้นทำไม
"ผมบอกไปว่า 'หูผมร้อง จะต้องมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นแน่ๆ ผมจะลงเขา พวกนายเองควรไปเหมือนกัน’" เขาเท้าความหลังและคะเนว่า ตอนนั้นน่าจะเป็นเวลาประมาณ 6:15 น.
เบสแคมป์และโตนน้ำแข็งยังอยู่ในเงามืด แต่เหนือขึ้นไปไกลโพ้น ยอดเขาอันเป็นที่สถิตของทวยเทพเชอร์ปาตั้งตระหง่านในแสงเจิดจ้า  ตั้งแต่ยอดจรดฐานยังเป็นเช้าอันงดงามบนเมานต์เอเวอเรสต์   จนกระทั่งอีก 11 นาทีต่อมา

เวิ้งหุบรอบเบสแคมป์ของเอเวอเรสต์นั้นกว้างใหญ่ไพศาล จนนักปีนเขามักเห็นหิมะถล่มก่อนได้ยินเสียงเสียอีก เสียงจะตามมาเหมือนฟ้าร้องตามหลังอสุนีบาต เป็นเสียงซู่ซ่าเหมือนคลื่นทะเลซัดซาด ขณะกระแสเชี่ยวกรากของหิมะ น้ำแข็ง และก้อนหินถั่งโถมลงมาตามร่องธาร หรือทะลักลงมาจากปากหุบเขา แต่หิมะถล่มที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 18 เมษายน มีเสียงต่างออกไป โดยเฉพาะต่อหูชาวเชอร์ปาที่ได้ยินเสียงนั้นขณะอยู่ในพื้นที่โตนน้ำแข็งพอดี เกือบทุกคนบรรยายตรงกันว่าเป็นเสียง ตุ๊งงงง หนักๆ เหมือนค้อนทุบระฆังใบหนาหนักเสียงทึบๆ
น้ำแข็งรูปทรงเหมือนเขี้ยวสุนัขก้อนมหึมาสูง 34 เมตร หนักราว 7,300 ถึง 13,600 ตัน แตกตัวออกมาจากชั้นน้ำแข็งบนไหล่เขาฝั่งตะวันตกของเอเวอเรสต์ แล้วถล่มลงมาเบื้องล่าง แตกกระจายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย และทำให้เกิดผนังลมขนาดใหญ่ขึ้นทางด้านหน้าของน้ำแข็ง ขณะพุ่งด้วยความเร็วสูงขึ้นและมีมวลใหญ่ขึ้น เชอร์ปาบางคนคิดว่าหิมะถล่มที่เห็นคงใช้เวลาหลายนาทีกว่าจะมาถึงพวกเขา แต่คนอื่นๆบอกว่า มันพุ่งมาถึงตัวภายในเวลาไม่กี่วินาที นักปีนเขาราว 24 คนอยู่ในเส้นทางหิมะถล่มโดยตรง และอีกจำนวนมากกระจายอยู่ตามริมขอบทั้งด้านบนและด้านล่าง

ไม่กี่ชั่วโมงหลังหิมะถล่มและปฏิบัติการช่วยชีวิตยุติลง ตัวเลขทางการระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 16 คน เป็นชาวเชอร์ปา หรือไม่ก็คนงานชาวเนปาลเผ่าอื่นๆ ในจำนวนนี้สามคนยังสูญหายและคาดว่าน่าจะเสียชีวิตแล้ว พวกเขาจบชีวิตพร้อมสายรัดนิรภัย ขณะทุ่มเทแรงกายรงกายเพื่อส่งลูกเรียนหนังสือ สร้างบ้านหลังใหม่ให้ครอบครัว หรือซื้อยาแก้หอบหืดให้พ่อแม่แก่ชรา เด็กๆ 28 คนสูญเสียพ่อ ในจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 11 คนพบจุดจบในที่เดียวกัน ซึ่งก็คือตรงสันน้ำแข็งลาดเอียงที่พวกเขารอไต่ลงบันได และบัดนี้อันตรธานไปแล้ว
ความสยดสยองของเหตุการณ์ในวันนั้นร้ายแรงกว่าอุบัติเหตุใดๆที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้บนเมานต์เอเวอเรสต์ รวมทั้งหายนะเมื่อปี 1922 1970 และ 1974 ที่มีชาวเชอร์ปาเสียชีวิตพร้อมกันเป็นกลุ่ม ทว่าผลกระทบจากโศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดนี้เพิ่งจะเริ่มปรากฏ

Tie a Yellow Ribbon Round the Ole Oak tree - Tony orlando


วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

หนังพาไป ตอนตะลุยกรุงเดลี


A Step You Can't Take Back


Beauty and Beast


A whole new world


เปิดสุสานเร้นลับ

             


                          เปิดสุสานเร้นลับ

                        ภาพ : เปิดสุสานเร้นลับ 
                        ภาพโดย : โรเบิร์ต คลาร์ก, ภาพถ่ายทั้งหมดได้รับอนุญาตจากรัฐบาลเปรู 
                        คำบรรยายภาพ : ขนนกประดับอยู่บนชิ้นส่วนเครื่องประดับชิ้นนี้


ในแสงยามเย็นที่ทาบทาชายฝั่งเปรู นักโบราณคดี มีโวช เกียร์ช และโรเบร์โต ปีเมนเตล นีตา เปิดห้องเล็กๆที่ถูกปิดตายแถวหนึ่งใกล้กับทางเข้าสุสานโบราณแห่งหนึ่ง  ห้องหับขนาดเล็กซึ่งซ่อนตัวอยู่ใต้ชั้นอิฐหนาหนักมานานกว่าหนึ่งพันปี  ภายในบรรจุเหยือกดินเผาใบโตๆ บางใบมีภาพวาดรูปกิ้งก่าและใบหน้าคนยิ้มยิงฟันประดับอยู่ เกียร์ช  ทำหน้าเหยเกพลางพูดขึ้นว่า “ข้างล่างนี่กลิ่นแย่มากครับ” เขามองลงไปในหม้อใบใหญ่ใบหนึ่งอย่างระมัดระวัง ในนั้นเต็มไปด้วยเปลือกดักแด้เปื่อยยุ่ย อันเป็นร่องรอยที่หลงเหลือของแมลงวันซึ่งครั้งหนึ่งคงถูกดึงดูดมายังสิ่งที่บรรจุอยู่ภายในหม้อ ว่าแล้วนักโบราณคดีผู้นี้ก็ลุกขึ้นยืน ปัดฝุ่นอายุ 1,200 ปีจากกางเกงขายาวจนฟุ้งไปทั่ว ในช่วงสามปีของการขุดค้นแหล่งโบราณคดีแห่งนี้ซึ่งมีชื่อว่า เอลกัสตีโยเดอัวร์เมย์ เกียร์ชพานพบกับระบบนิเวศแห่งความตายที่คาดไม่ถึง ตั้งแต่ร่องรอยแมลงที่เคยกัดกินเนื้อมนุษย์ งูที่เข้ามาซุกกายและตายคาก้นหม้อดินเผา ไปจนถึงผึ้งเพชฌฆาตแอฟริกาที่บินกรูออกมาจากห้องใต้ดินและไล่ต่อยคนงาน
หลายคนเคยเตือนเกียร์ชว่า การขุดค้นท่ามกลางซากปรักของเอลกัสตีโยเป็นเรื่องยาก และแทบจะพูดได้เลยว่าเสียทั้งเวลาและเงินไปเปล่าๆ โจรปล้นสมบัติขุดอุโมงค์เข้าไปในเนินเขาขนาดใหญ่ลูกนั้นกันมาไม่ต่ำกว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว เพื่อค้นหาสุสานบรรจุโครงกระดูกโบราณสวมเครื่องประดับทองคำ และห่อหุ้มด้วยผ้าทอลายวิจิตรที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จัก เนินเขาที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงลิมาไปทางเหนือสี่ชั่วโมงทางรถยนต์ เต็มไปด้วยหลุมบ่อและระเกะระกะไปด้วยกระดูกมนุษย์โบราณและขยะสมัยใหม่
แต่เกียร์ช อาจารย์หนุ่มวัย 36 ปี ผู้สอนวิชาโบราณคดีแถบเทือกเขาแอนดีสที่มหาวิทยาลัยวอร์ซอ ยังมุ่งมั่นจะขุดค้นที่นั่นอยู่ดี  เกียร์ชมั่นใจว่าต้องมีเหตุการณ์สำคัญบางอย่างเกิดขึ้นที่เอลกัสตีโยเมื่อ 1,200 ปีก่อน ชิ้นส่วนสิ่งทอและเศษเครื่องปั้นดินเผาจากอารยธรรมวารีของเปรูซึ่งยังเป็นที่รู้จักน้อยมาก และมีศูนย์กลางตั้งอยู่ไกลออกไปทางใต้ ปรากฏให้เห็นอยู่ทั่วเนินน้อยใหญ่ในแถบนั้น เกียร์ชและทีมวิจัยทีมเล็กๆจึงลงมือสร้างภาพสิ่งที่อยู่ใต้ดินด้วย แมกนิโทมิเตอร์และภาพถ่ายทางอากาศ ผลที่ออกมาเผยให้เห็นบางสิ่งซึ่งเล็ดลอดสายตาของบรรดาโจรปล้นสุสานหลายชั่วรุ่น นั่นคือแนวเส้นจางๆของกำแพงที่ถูกกลบฝังทอดตัวไปตามแนวสันเขาหินทางใต้
ปรากฏว่าเส้นจางๆนั้นคือแนวหอคอยและกำแพงสูงที่ประกอบกันเป็นเขาวงกตขนาดมหึมา แผ่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดทางใต้สุดของเอลกัสตีโย หมู่สิ่งปลูกสร้างแผ่ไพศาลซึ่งเดิมทาสีแดงเข้มดูเหมือนจะเป็นวิหารวารีที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการบูชาบรรพบุรุษ ขณะที่ทีมวิจัยขุดลงไปใต้ชั้นอิฐสี่เหลี่ยมคางหมูหนาๆในฤดูใบไม้ร่วง ปี 2012 พวกเขาค้นพบสิ่งที่นักโบราณคดีแถบเทือกเขาแอนดีสเพียงไม่กี่คนเคยคาดหวังว่าอาจพบเจอ นั่นคือ สุสานหลวงที่พวกหัวขโมยยังไม่เคยแตะต้องมาก่อน ภายในฝังพระศพราชินีหรือเจ้าหญิงชาววารีไว้สี่พระองค์ รวมทั้งชนชั้นสูงอีกอย่างน้อย 54 คน และโบราณวัตถุล้ำค่าของชาววารีอีกกว่าหนึ่งพันชิ้น มีตั้งแต่ต่างหูทองคำขนาดใหญ่ไปจนถึงชามเงินและขวานทำจากโลหะทองแดงผสม ซึ่งล้วนเป็นงานฝีมือชั้นยอด
อารยธรรมวารีรุ่งเรืองขึ้นในแถบหุบเขาไอย์อากูโชของเปรูราวศตวรรษที่เจ็ดโดยไม่มีใครรู้ความเป็นมา และยิ่งใหญ่เกรียงไกรเนิ่นนานก่อนหน้าอารยธรรมอินคาจะผงาดขึ้นในอีกหลายร้อยปีต่อมา พวกเขาก่อตั้งเมืองหลวงขนาดใหญ่ซึ่งทุกวันนี้รู้จักกันในชื่อนครอัวรี (Huari) ขึ้นใกล้ๆกับเมืองไอย์อากูโชในปัจจุบัน ในช่วงที่รุ่งเรืองถึงขีดสุด นครอัวรีมีประชากรมากถึง 40,000 คน จากฐานที่มั่นแห่งนี้ เหล่าขุนศึกชาววารีแผ่ขยายอาณาเขตของตนออกไปหลายร้อยกิโลเมตรตามแนวเทือกเขาแอนดีส และรุกคืบเข้าไปถึงทะเลทรายแถบชายฝั่ง ก่อร่างสร้างสิ่งที่นักโบราณคดีหลายคนเรียกว่า จักรวรรดิแห่งแรกในแถบเทือกเขาแอนดีสของอเมริกาใต้
ชาววารีในฐานะผู้รุกรานต่างแดนน่าจะรุกคืบมายังแถบชายฝั่งแห่งนี้ราวปลายศตวรรษที่แปด ในสมัยนั้นพื้นที่แถบนี้ทอดยาวไปตามพรมแดนทางใต้ของเหล่าขุนศึกโมเชผู้มั่งคั่ง และดูเหมือนจะขาดผู้นำเผ่าที่แข็งแกร่ง ผู้รุกรานชาววารีเปิดฉากโจมตีด้วยวิธีใดไม่ทราบแน่ชัด เมื่อเมฆหมอกแห่งสงครามจางหายไป ชาววารีก็ผงาดขึ้นในฐานะผู้ครอบครองดินแดนไว้ในอุ้งมือ เจ้าครองผู้มาใหม่สร้างพระราชวังขึ้นตรงเชิงเขาเอลกัสตีโย เมื่อเวลาผ่านไป ผู้ปกครองรายนี้และผู้สืบทอดรุ่นต่อๆมาก็เปลี่ยนเนินเขาลาดชันเบื้องบนให้กลายเป็นวิหารสูงตระหง่านอุทิศให้กับการบูชาบรรพบุรุษ
เอลกัสตีโยถูกปกคลุมด้วยซากปรักและตะกอนที่กระแสลมพัดพามาตลอดเกือบหนึ่งพันปี ทำให้หน้าตาในปัจจุบันดูเหมือนพีระมิดขั้นบันไดขนาดมหึมา เป็นอนุสรณ์สถานที่สร้างจากด้านล่างขึ้นไปด้านบน แต่เกียร์ชสงสัยมาตั้งแต่แรกว่า เอลกัสตีโยต้องมีอะไรมากกว่าที่ตาเห็น เขาเชิญทีมผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมมาช่วยตรวจสอบ และผลการศึกษาวิเคราะห์ก็ยืนยันข้อสงสัยของเกียร์ช นั่นคือ วิศวกรชาววารีเริ่มก่อสร้างตรงบริเวณยอดสุดของเอลกัสตีโยซึ่งเป็นหมวดหินธรรมชาติ แล้วจึงไล่ระดับลงมาถึงด้านล่างในที่สุด
ผู้ก่อสร้างเริ่มจากการขุดห้องใต้ดินตามแนวยอดเขาเอลกัสตีโยซึ่งจะกลายเป็นสุสานหลวง ครั้นเมื่อเสร็จสิ้นการฝังพระศพและพร้อมจะปิดผนึกสุสาน เหล่าคนงานจะเทกรวดทรายราว 30 ตันลงไป และปิดทับด้วยอิฐหนาหนักอีกชั้น จากนั้นพวกเขาจึงสร้างหอคอยสุสานขึ้นด้านบน ทาผนังเป็นสีแดงเข้มมองเห็นได้จากหลายกิโลเมตรโดยรอบ เหล่าชนชั้นสูงชาววารีจะถวายเครื่องสักการะสูงค่าไว้ตามห้องเล็กๆภายในสุสาน ซึ่งมีตั้งแต่ผ้าทอฝีมือประณีตที่ผู้คนแถบเทือกเขาแอนดีสโบราณยกย่องยิ่งกว่าทองคำ ไปจนถึงเส้นเชือกผูกเป็นปมลักษณะต่างๆที่เรียกว่า กีปู (khipu) ซึ่งใช้เป็นเครื่องมือบันทึกจำนวนและประเภททรัพย์ศฤงคารที่องค์จักรพรรดิและจักรวรรดิครอบครอง ตลอดจนชิ้นส่วนอวัยวะของแร้งเทือกเขาแอนดีส ซึ่งเป็นนกที่มีความเกี่ยวโยงกับชนชั้นสูงชาววารีอย่างแนบแน่น
ตรงใจกลางหอคอยเป็นห้องประดิษฐานบัลลังก์ ราวปี ค.ศ. 2000 โจรปล้นสุสานเล่าให้นักโบราณคดีชาวเยอรมันคนหนึ่งฟังว่า พวกเขาพบมัมมี่ฝังอยู่ในซุ้มกำแพงรอบห้อง “เราค่อนข้างมั่นใจว่าห้องนี้ใช้ประกอบพิธีบูชาบรรพบุรุษครับ” เกียร์ชบอก และอาจกระทั่งเคยใช้เป็นสถานที่บูชามัมมี่ขององค์จักรพรรดิ แต่ทางทีมวิจัยยังค้นไม่พบ
บรรดาชนชั้นสูงชาววารีต่างจับจองพื้นที่บนยอดเขาสำหรับสร้างสุสานของตนเอง เมื่อใช้พื้นที่ว่างจนหมดแล้ว พวกเขาก็ออกแบบพื้นที่เพิ่มด้วยการสร้างยกพื้นขั้นบันไดไล่ลงไปตามลาดเนินเขาเอลกัสตีโย และสร้างหอคอยสุสานกับหลุมฝังศพตามยกพื้นขั้นบันไดเหล่านั้นนั่นเอง
เมื่อการก่อสร้างสิ้นสุดลง น่าจะเป็นช่วงใดช่วงหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 900 ถึง 1000 นครแห่งผู้วายชนม์สีแดงเข้มก็ตั้งตระหง่านเหนือหุบเขา เอลกัสตีโยได้ส่งสารทางการเมืองอันทรงพลังถึงผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ว่า บัดนี้ผู้รุกรานชาววารีคือผู้ครองดินแดนโดยชอบธรรม
 

ลอดลายลูกไม้ เส้นสายวัฒนธรรม



  เลอกรัวตี, มอร์บีออง
ภาพ : เลอกรัวตี, มอร์บีออง 
ภาพโดย : ชาร์ลส์ เฟรเช 
คำบรรยายภาพ : ชุดทางด้านขวาเป็นการแต่งกายในยุคปี 1900 เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆของบริตตานี หญิงสาววัยดรุณีจะใช้ผ้ากันเปื้อนที่ตัดเย็บจากผ้าไหมหรือผ้าซาตินย้อมสี



การปีนออกจากรถยุโรปคันเล็กว่ายากแล้ว  ยิ่งถ้าสวมหมวกสูง 33 เซนติเมตร เผลอๆคุณออกจากรถไม่ได้เลย แต่อะเลกเซีย กาอูดาล วัย 87 ปี และมารี-หลุยส์ โลเปเร วัย 90 ปี กลับออกจากที่นั่งด้านหลังรถซีตรองสีเงินของเพื่อนได้อย่างสง่างาม เจ้าของบ้านปรี่เข้าต้อนรับพวกเธอด้วยรอยยิ้มประหนึ่งรับเสด็จเจ้าหญิง
เจ้าหญิงกระนั้นหรือ อันที่จริงทั้งคู่ทำงานในโรงงานปลากระป๋องมาหลายสิบปี แต่กาอูดาลและโอเปเรก็เป็นคนดังในภูมิภาคแถบนี้ของฝรั่งเศสที่เรียกกันว่า บีกูดองเปอี (Bigouden Pays) ในเขตฟีนีสแตร์ซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุดของแคว้นบริตตานีมีผู้หญิงเพียงสองคนนี้เท่านั้นที่ยังใส่เครื่องประดับศีรษะทรงสูง หรือ กวฟ (coiffe) เป็นประจำ เฉกเช่นวิถีชีวิตประจำวันในสมัยก่อน
แม้หลังจะโค้งงุ้มไปตามวัย แต่แผงลูกไม้ยังคงตั้งเด่นอยู่บนเรือนผมสีขาวสลวย ดูราวกับประภาคารที่ส่งสัญญาณให้รู้ว่า เธอคือผู้หญิงชาวบิกูดอง
ชุดพื้นเมืองแบบเบรอตาญมีมากกว่าสิบแบบ แตกต่างไปตามหมู่บ้าน วาระที่ใส่ และยุคสมัย จากหมวกแก๊ปแบบง่ายๆ ที่สาวชาวไร่เคยใส่กันลมหรือแดดฝน ค่อยๆเปลี่ยนขนาดและรูปทรงจนดูน่าทึ่งในสมัยศตวรรษที่สิบเก้าและยี่สิบ กลายเป็นแรงบันดาลใจแก่ศิลปินมากหน้าหลายตา อาทิ ปอล โกแกง  ในสมัยก่อน กวฟ “เป็นเหมือนบัตรประชาชนค่ะ” โซเลน โบเอนเนก ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์แห่งบีกูดอง  เปรียบเปรย  “กวฟบอกให้รู้ว่า คุณเป็นใคร มาจากไหน หรือกำลังไว้ทุกข์ให้ใครสักคน”
อย่างไรก็ตาม พอล่วงถึงทศวรรษ 1950 หญิงสาวส่วนใหญ่พากันละทิ้งธรรมเนียมดั้งเดิม  แต่ยังคงสวมชุดพื้นเมืองเฉพาะในวาระสำคัญของเบรอตาญ ดังเช่นหญิงสาวที่ปรากฏในภาพถ่ายเหล่านี้ พวกเธอต้องฝึกฝนตลอดทั้งปีเพื่อร่วมประกวดการแต่งกายชุดพื้นเมืองเต็มยศในเทศกาลเต้นรำฤดูร้อน บางครั้งพวกเธอก็ไปร่วมงานแต่งงานและพิธีแสวงบุญทางศาสนาเรียกว่า ปาร์ดอง ซึ่งจัดขึ้นในช่วงเทศกาลฉลองนักบุญประจำท้องถิ่น
ทุกเช้า กาอูดาลและโอเปเรจะดึงผม หวี และรวบผมเปียเก็บไว้ใต้หมวกคลุมผมสีดำที่ทำขึ้นเป็นพิเศษ  การสวมกวฟอย่างสมบูรณ์จะใช้เวลาเกือบครึ่งชั่วโมง  และดูไม่เข้ากันเสียเลยกับภูมิภาคซึ่งติดมหาสมุทรแอตแลนติกตอนเหนือที่มีทั้งฝนและลมแรง เมื่อถามว่า ใส่แล้วสบายไหม กาอูดาลยักไหล่ก่อนตอบว่า “เราชินแล้ว” เธอพูดเหมือนกับคนรุ่นราวคราวเดียวกันที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ปนกับภาษาท้องถิ่นเบรอตาญ

10ข้อเท็จจริงที่หายไปในประวัติศาสตร์

10.ทมัส อัลวา เอดิสัน ไม่ใช่คนประดิษฐ์หลอดไฟคนแรกของโลก
ในความเป็นจริงแล้ว โทมัส อัลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าตามที่คนทั่วไปเข้าใจแต่อย่างใด หลักการของหลอดไฟฟ้าถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้โดยนักประดิษฐ์หลายท่าน เช่น จูเซ็ปป์ สวอน (Juseph Swan) หรือ ไฮน์ริช เกอเบิล (Heinrich Goebel) อย่างไรก็ตามเอดิสันได้คำนึงถึงการนำหลอดไฟฟ้าไปใช้งานจริงในชีวิตประจำวันอย่างจริงจัง โดยเอดิสันได้ทำให้อายุการใช้งานของหลอดไฟฟ้ายาวนานพอที่จะนำไปใช้ได้อย่างสะดวกสบายในบ้านเรือนหรือร้านค้า นอกจากนั้นเอดิสันยังได้สร้างระบบผลิตและแจกจ่ายไฟฟ้าอีกด้วย

นอกจากนี้ยังมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับเอดิสันอีกว่า  สิ่งประดิษฐ์ภายใต้ชื่อของเขาและจดสิทธิบัตรเป็นจำนวนถึง 1,093 ชิ้น ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เขาคิดค้นขึ้นมาเอง แต่เป็นการพัฒนาจากสิ่งประดิษฐ์ดั้งเดิมที่คิดค้นขึ้นโดยลูกจ้างของเขา เพราะเหตุนี้ทำให้เขาถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เสมอ ในเรื่องการอ้างผลงานเป็นของตัวแต่ผู้เดียว โดยไม่แบ่งปันให้กับผู้คิดค้นดั้งเดิม


9.เธอคือโป๊บ??

เมื่อวันก่อนผมได้ดูภาพยนตร์เรื่อง เธอคือโป๊บ (Pope Joan) ที่สร้างจากเค้าโครงในตำนาน(โดยเนื้อเรื่องเอามาจากนิยายอีกที) เป็นเรื่องราวในตำนานของหญิงสาวที่แต่งตัวเป็นพระชายและไปกรุงโรมเพื่อศึกษา ในที่สุดเธอก็ได้เป็นพระสันตะปาปา แต่เธอคลอดบุตรในขณะกำลังขึ้นม้า
ภาพยนตร์เรื่องนี้โดนแบนหลายประเทศมาก(ยกเว้นไทย) เพราะว่าเนื้อหาค่องข้างหมิ่นศาสนามา หนังพยายามบอกว่าเรื่องพระสันตะปาปาเป็นเรื่องจริง หากแต่ปัจจุบันเรื่องราวของพระสันตะปาปาหญิงโจน (Pope Joan หรือ Popess Joan) ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่า มีตัวตนจริงๆหรือไม่  โดยตำนานกล่าวว่าพระสันตะปาปาหญิงโจนมี ชื่อเดิมคือโจฮานนา แองลิกัส (Johanna Anglicus) โดยใช้ชื่อผู้ชายว่าจอห์น (John) เกิดที่ไมนส์ (Mainz) เป็นผู้เชียวชาญศิลปวิทยาหลากหลายแขนง จนไม่มีผู้ทัดเทียม และภายหลังเธอเดินทางไปโรม ก็เปิดสอนวิชาศิลปศาสตร์จนที่เคารพรักแก่บรรดาศิษย์  จากนั้นก็เล่นการเมืองและถูกเลือกโดยพระสันตะปาปา ในขณะที่เธอเป็นพระสันตะปาปา เธอตั้งครรภ์โดยคนรักของเธอ โดยไม่รู้ว่า เมื่อไรจะถึงกำหนดคลอด เธอให้กำเนิดทารกเพศชาย และโดนการตัดสินของกระบวนการยุติธรรมของกรุงโรม เธอต้องโดนลงโทษ โดยการผูกติดกับขาม้าแล้วก็ถูกลากไป และโดนโยนก้อนหินโดยประชาชนครึ่งหนึ่ง  แต่ไม่มีหลักฐานว่าที่ที่ฝังเธอเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ อาจจะเนื่องมากจากเหตุผลที่ว่า เธอเป็นผู้หญิง หรือมาจากความโง่ของหลักฐานก็ตาม และเรื่องราวของเธอถูกเขียนโดย(Martin of Opava) ใน Chronicon Pontificum et Imperatum แต่กระนั้นนักประวัติศาสตร์ และผู้เคร่งศาสนา ต่างไม่เชื่อว่า มีพระสันตะปาปาหญิงโจนมีตัวตนจริงๆ เป็นเพียงเรื่องโกหกและเป็นตำนานลอย ๆ เท่านั้น สาเหตุเพราะเรื่องนี้ไม่ได้ถูกพบในเอกสารที่เชื่อถือได้

8.รูปร่างที่แท้จริงของเทวรูปโคโลสซูสเป็นอย่างไรกันแน่?
นี้คือสิ่งมหัศจรรย์ที่ขาดหายไปในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ  เทวรูปโคโลสซูสเป็นที่เกาะโรดส์ ประเทศกรีก หล่อด้วยทองบรอนซ์ ในท่ายืน สูง 100 ฟุตโดยเฉพาะฐานที่รองรับรูปหล่อนั้นสูงกว่าตึก 5 ชั้น พระหัตถ์ขวาถือดวงประทีป ตั้งอยู่หน้าเมืองโรดส์ประเทศกรีก สร้างโดยกษัตริย์แชรัสแห่งลินดัส เชื่อกันว่าเป็นรูปปั้นที่คอยกั้นอ่าวของเกาะแห่งนี้ของกรีกในทะเลเอเจียน สร้างเสร็จหลังจากใช้เวลา 12 ปี แล้วเสร็จเมื่อประมาณ 280 ปีก่อนคริสตกาล และต้องพังทลายลง เพราะแผ่นดินไหว ถูกทอดทิ้งเป็นเวลา 900 ปี จนถูกขายเป็นเศษเหล็ก ให้แก่ชาวเมืองซาราเซน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการสงคราม จนเราไม่ได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์นี้เลยแม้แต่ซาก ส่วนภาพที่เห็นเป็นเพียงจินตนการของคนวาดเท่านั้น แต่ที่น่าเหลือเชื่อคือเอกสารหลายชิ้นพรรณารูปปั้นนี้ไม่เหมือนกันเลย บ้างก็บอกว่ารูปปั้นอ้าขาจนเรือรอดได้ บ้างก็บอกว่ารูปปั้นไม่ได้อ้าขา

7. แรงงานสร้างพีระมิดไม่ใช้ทาส?
จากที่เราอ่านประวัติศาสตร์เรามักเห็นฉากแรงงานสร้างพีระมิด โดยหนังสือบอกว่าพวกเขาเป็นทาสและมีคนโบยแส้ที่ด้านหลังใช่เปล่าครับ หากแต่ปัจจุบันความคิดนี้ต้องเปลี่ยนไปเมื่อนักโบราณคดีค้นพบสุสานในอียิปต์ ซึ่งช่วยพิสูจน์ว่าแรงงานที่ช่วยกันสร้างพีระมิดนั้นไม่ใช่ทาสอย่างที่เคยเข้าใจ แต่เป็นคนที่ได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดี มีการจ่ายค่าแรงรวมถึงมีการจัดอาหารให้รับประทาน 3 มื้อต่อวันเป็นอย่างดี อีกทั้งการสร้างสุสานใกล้กับที่ฝังศพของกษัตริย์  แสงให้เห็นว่าแรงงานเหล่านี้ไม่ใช่ทาสแต่อย่างใด โดยคาดว่าแรงงานเหล่านั้นน่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ผู้มีความเชื่อว่าสิ่งที่ตนกำลังทำนั้น มีส่วนช่วยให้องค์ฟาโรห์ได้ไปจุติบนสวรรค์ และเมื่อถึงเวลาที่ตนจะจากโลกนี้ไปบ้าง เทพฟาโรห์ก็จะได้พิทักษ์ปกป้องตนต่อไป

6.ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับไวกิ้ง
ไวกิ้งที่เราได้เห็นภาพยนตร์หลายเรื่องนั้น ส่วนใหญ่มักตัวใหญ่น่ากลัวสวมหมวกขนสัตว์ โหดร้ายป่าเถื่อนชอบปล้นทรัพย์ฆ่าและข่มขื่นหญิงชาวบ้าน อีกทั้งตัวสกปรก ไร้สมอง เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายของยุโรปอย่างแท้จริง

                นี้คือความรู้ที่ผิด จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่าไวกิ้งไม่โหดร้ายอย่างที่คุณคิด ไวกิ้งไม่ใช่นักรบอย่างเดียว หากแต่เป็นพ่อค้าและนักตั้งถิ่นฐานที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนายุโรปกลาง พวกเขาอาบน้ำสัปดาห์ละครั้ง ในวันเสาร์เท่านั้น(อย่าลืมว่าอากาศยุโรปมันหนาว) ที่น่าสนใจคือส่วนใหญ่พวกเขาสูงแค่ 170 ซม. ซึ่งไม่สูงอย่างที่เราเข้าใจกัน ผมและหนวดสีทองที่เราเห็นในภาพยนตร์เป็นเพียงอุดมคติความเชื่อในวัฒนธรรมไวกิ้งที่ใช้สบู่พิเศษในการแต่งไม่ใช้เป็นมาตั้งแต่เกิด อีกทั้งพวกเขาไม่ได้อาศัยเฉพาะสแกนดิเนเวีย พวกเขาอพยพไปหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น รัสเซีย, แอฟริกา หรือแม้แต่อเมริกาเหนือ ส่วนพฤติกรรมที่ฆ่าและข่มขืนปล้มทรัพย์นั้นเป็นส่วนน้อยเท่านั้น แต่สิ่งที่เชื่อถือได้คือพวกนักบวชในยุโรปไม่ชอบพวกนี้เท่าไหร่ เนื่องจากครั้งหนึ่งพวกไวกิ้งเคยทำลายวัดและฆ่าพวกพระบาทหลวงหลายคน(ภายหลังไวกิ้งก็เข้ารีตเป็นคริสต์ศาสนิกชน)

5.ครีโอพัตราไม่ใช่คนอียิปต์
คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปา หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ คลีโอพัตรา) เป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งมาเซโดเนีย แต่จนบัดนี้ยังมีหลายคนเข้าใจว่าเธอเป็นคนอียิปต์(อย่างน้อยก็การ์ตูนญี่ปุ่นล่ะ) เพราะว่าเธอเป็นชาวกรีกแท้ๆ บิดาของพระนางคือปโตเลมีที่ 12 โอเลเตส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอ พระนางทรงมีความเฉลียวฉลาดมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ภาษาฮิบรู ภาษาละติน ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเอธิโอเปียน ภาษาซีเรีย ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ก็น้อยคนนักที่จะแตกฉานในภาษานี้ และเธอเป็นผู้ปกครองอียิปต์คนสุดท้ายที่มีเชื้อสายกรีก

 4.คิงอาเธอร์มีตัวตนในประวัติศาสตร์จริงเหรอ?
กษัตริย์อาเธอร์ (King Arthur) เป็นกษัตริย์อังกฤษผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในตำนานเล่าขานในฐานะวีรบุรุษในยุคกลาง ซึ่งได้ปกป้องเกาะบริเตนจากการรุกรานของชาวแซ็กซอนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 รายละเอียดส่วนใหญ่เกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์ปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าขาน ตำนานพื้นบ้าน และวรรณกรรมที่แต่งขึ้นโดยส่วนมากมักเกินจริงไปหน่อย เช่น มีพ่อมดเมอร์ลินเป็นผู้ช่วยทำสงคราม, อาเธอร์สามารถต่อสู้ตามลำพังด้วยมือเปล่า และสังหารศัตรูไปถึง 960 คน และแน่นอนเรื่องราวภูมิหลังที่แท้จริงทางประวัติศาสตร์ของตำนานกษัตริย์อาเธอร์เป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการมาเป็นเวลานานแล้ว หลายคนเชื่อว่าอาเธอร์เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6  แต่กระนั้นก็ยังขาดหลักฐานสนับสนุนที่หนักแน่นเพียงพอ(ปละหลักฐานส่วนใหญ่เป็นของปลอม) นักประวัติศาสตร์ในยุคหลังโดยมากจึงไม่นับว่าอาเธอร์เป็นหนึ่งในกษัตริย์ที่มีตัวตนจริง นักประวัติศาสตร์ จนมีนักประวัติศาสตร์ออกมาบอกว่า "ไม่มีบุคคลใดในกรอบประวัติศาสตร์และตำนานที่จะทำให้นักประวัติศาสตร์เสียเวลามากเท่านี้”



3. เลดี้โกไดวา มีตัวตนอยู่จริงเหรอ??


เลดี้โกไดวา (Lady Godiva) เป็นสตรีสูงศักดิ์ผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งเมืองโคเวนทรี (ประเทศอังกฤษมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 997-1067 เธอเป็นภรรยาของลีโอฟริก เอิร์ลแห่งเมอร์เซียและลอร์ดแห่งเมืองโคเวนทรี ผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดินอังกฤษ เป็นคนละโมบและกดขี่ชอบเก็บภาษีประชาชนอย่างบ้าเลือด แม้เลดี้โกไดวาเฝ้าขอร้องสามีให้ลดภาษี แต่เขาไม่เคยยอม

จนกระทั้งวันหนึ่งลีโอฟริกได้คิดสนุกเลยบอกเลี้โกไดวาว่าถ้าเธอกล้าเปลือยกายขี่ม้ารอบเมือง เขาจะยอมลดภาษีให้ตามที่ขอ ซึ่งการการกระทำดังกล่าวสำหรับผู้หญิงอังกฤษสมัยกลางย่อมถือเป็นเรื่องต่ำช้าอย่างยิ่ง แต่เลดี้โกไดวาก็ตัดสินที่จะยอมทำตามดังกล่าว โดยเธอได้กระจายข่าวบอกชาวเมืองให้พวกเขาร่วมมือด้วยการปิด ประตูหน้าต่างหลบอยู่ในที่พักอาศัยขณะเธอขี่ม้าผ่านเปลือยกาย ซึ่งชาวบ้านก็ร่วมมือเป็นอย่างดี(ความจริงมีชายคนหนึ่งแอบดูนาง หากแต่เขาถูกสวรรค์ลงโทษด้วยการทำให้ตาบอดในเวลาต่อมา และชายคนนั้นชื่อทอม จนเกิดสำนวนว่า “ทอมนักถ้ำมอง” Peeping Tom ในเวลาต่อมา)  จนนางสามารถทำสิ่งที่สามีบอกได้สำเร็จ และส่งผลให้สามีของเธอยกเลิกภาษาตามสัญญาที่ว่าไว้ อีกทั้งเธอก็ไม่ถูกประณามซ้ำยังชกลายเป็นวีรสตรีของชาวเมืองไปในทันที ทุกวันนี้ที่จัตุรัสกลางเมืองโคเวนทรีมีอนุสาวรีย์เลดี้โกไดวาตั้งอยู่อย่าง โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ที่ชาวเมืองภาคภูมิใจ ในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1678 สภาเมืองโคเวนทรีได้เริ่มจัดให้มีขบวนแห่ "เลดี้โกไดวา" บันทึกไว้เป็นครั้งแรก โดยจัดหาผู้หญิงมาสวมผ้าสีเนื้อรัดกายให้ดูคล้ายเปลือยเปล่า นั่งบนหลังม้าแห่ไปรอบเมืองเพื่อรำลึกการกระทำอันงดงามของโกไดวา

ในขณะเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยหลายคนไม่คิดว่าเรื่องของโกไดวาได้เกิดขึ้นจริง เนื่องจากหลักฐานระบุไว้เพียงว่าเธอเป็นภรรยาของเอิร์ลลีโอฟริก และข้อมูลยังบ่งชี้ว่าทั้งคู่ต่างก็มีน้ำใจงามและเคร่งศาสนา เช่นในปี 1043 ท่านเอิร์ลและเลดี้ได้บริจาคเงินพร้อมที่ดินเพื่อสร้างวัดในนิกายเบเนดิกทีนที่โคเวนทรี ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเดียวกับโบสถ์โคเวนทรีที่ถูกระเบิดทำลายไปบางส่วนในสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดแห่งนี้ประดับด้วยพลอยล้ำค่างดงามอย่างที่ไม่มีวัดใดในอังกฤษยุคนั้นเทียบได้ และในช่วงทศวรรษ1050 ทั้งสองยังบริจาคที่ดินและเงินมหาศาลเพื่อสร้างวัดและโบสถ์อีกหลายแห่ง เช่นที่ลินคอล์นเชียร์ ลีโอมินสเตอร์ และอีฟแชม นักประวัติศาสตร์หลายคนจึงไม่คิดว่าท่านเอิร์ลจะโหดหินจนโกไดวาต้องเปลือยร่างขี่ม้าขอความเป็นธรรมให้ประชาชน

ส่วนผู้ที่เชื่อว่าตำนานนี้เป็นเรื่องจริงก็จะอิงบันทึกเกร็ดประวัติศาสตร์อังกฤษฉบับภาษาละตินที่ชื่อ Flores Historiarum (Flowers of History) ของโรเจอร์แห่งเวนโดเวอร์ (Roger of Wendover) ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ที่ระบุเรื่องราวของเลดี้โกไดวาไว้ตามที่ระบุข้างต้น ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนแย้งว่าเวนโดเวอร์เป็นเพียงผู้บันทึกตำนานและเกร็ดประวัติศาสตร์ แต่ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขาเขียนบันทึกนี้ขึ้นเมื่อ 2 ศตวรรษหลังการตายของโกไดวา ข้อความดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอให้เชื่อถือ แม้จะมีบันทึกระบุว่าครั้งหนึ่งลีโอฟริกได้ยกเลิกภาษีให้ประชาชนจริง และประทับตราด้วยตราประจำตัวของเขาเองเลยก็ตาม ส่วนคนอื่นก็เสริมว่าบางทีเลดี้โกไดวาอาจไม่ได้ปลดเปลื้องเสื้อผ้า หากแต่ปลดเชิงสัญลักษณ์ คือปลดทั้งเครื่องประดับกายและผม เพราะเมื่อสตรีสูงศักดิ์ปราศจากเครื่องประดับก็เท่ากับลดเกียรติของตนลงเทียบเท่าสตรีสามัญ

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวของโกไดวาจะเป็นเพียงตำนานหรือความจริงย่อมยากที่จะพิสูจน์ไม่ต่างจากทุกตำนานในโลก หากเหนือข้อเท็จจริงย่อมเป็นคุณค่าของตำนานที่ถูกส่งผ่านมากับกาลเวลา เฉกเช่นเรื่องของเลดี้โกไดวาที่เนื้อหาแท้จริงได้แทรกตัวอยู่ทั้งในบทกวี รูปปั้น ภาพเขียนของจิตรกรหลายยุคสมัย หรือกระทั่งในกระดาษห่อช็อกโกแลตยี่ห้อโกไดวา


2.สวนอีเดนอยู่ที่ไหนกันแน่?

สวนอีเด็น หรือ สวนเอเดน (Garden of Eden) เป็นสถานที่บรรยายไว้ในพระธรรมปฐมกาลว่าเป็นสถานที่มนุษย์สองคนแรกที่พระเจ้าสร้างอาดัม และ อีฟ  โดยสวนนั้นบรรยายไว้ว่าสวยงามราวกับสวรรค์ มีพืชพรรณอาหารอุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยสัตว์ป่า แม่น้ำใสสะอาด แต่ปัญหาคือถ้าสถานที่นี้มีจริง มันจะอยู่จุดไหนของโลกกันแน่ โดยหลายคนเชื่อว่าสวนอีเดนนี้อยู่ในโมโสโปเตเนีย ทางภาคกลาง เนื่องจากบันทึกการสร้างโลกในพระธรรมปฐมกาลได้กล่าวถึงที่ตั้งของสวนอีเด็นว่าอยู่ในบริเวณแม่น้ำสำคัญสี่สาย: แม่น้ำพิชอน แม่น้ำกิฮอน แม่น้ำไทกริส และแม่น้ำยูเฟรติสซึ่งอยู่ในบริเวณอาร์เมเนีย, ยอดเขาอาระรัต, เยเรวาน หรือที่ราบสูงอาร์เมเนีย)  (พระธรรมปฐมกาล บทที่ 2 ข้อที่ 10-14) ซึ่งอยู่ในบริเวณประเทศอิรักในปัจจุบัน ซึ่งน่าจะเป็นบริเวณคอเคซัสโบราณโดยเฉพาะบริเวณใกล้กับอาร์เมเนีย แต่ที่ตั้งของแม่น้ำทั้งสี่ยังเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่มีหลักฐานเป็นที่แน่นอนที่สนับสนุนที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของแม่น้ำนอกจากที่กล่าวในพระธรรมปฐมกาลเอง และ วรรณกรรมยิว-คริสเตียนเช่น “จูบิลี” สมมุติฐานอื่นก็ว่าตั้งอยู่ที่เมโสโปเตเมีย ทวีปแอฟริกา หรือ อ่าวเปอร์เซีย สมมุติฐานหลังมาจากหลักฐานของลุ่มแม่น้ำสี่สายที่มาพบกันที่เป็นที่ผลิตทองคำ และยางไม้หอม ซึ่งตรงกับการพรรณนาการสร้างโลกดังกล่าว


1 Prester John
 
เพรสเตอร์ จอห์น เป็นชื่อของกษัตริย์ในตำนานยุคกลางของยุโรปครับ โดยเชื่อว่ากษัตริย์องค์นี้อยู่ในดินแดนหนึ่งในเอเชีย หรืออาจเป็นแอฟริกา โดยดินแดนแห่งนั้นเป็นเดินแดนแห่งความเพียบพร้อม ไม่มีคนจน ไม่มีโจร ไม่มีคนพูดโกหกหรือมุ่งร้ายต่อกัน นอกจากจะเป็นกษัตริย์แล้วเพรสเตอร์ จอห์นยังเป็นประมุขศาสนาอีกด้วย ทำให้ดินแดนแห่งนี้มีคนนับถือศาสนาคริสต์อย่างเคร่งครัด กล่าวกันว่าเขาสืบเชื้อสายจากมากี 3 ท่านที่เดินไปให้พรแก่พระเยซูเมื่อครั้งประสูติบนโลกอีกด้วย เรื่องราวของเพรสเตอร์ จอห์นและอาณาจักรอันสมบูรณ์นั้นได้ถูกกล่าวถึงในบันทึกของบาทหลวงชาวเยอรมันท่านหนึ่ง ในสมัยเกิดสงครามครูเสดหลังชาวคริสต์ยึดดินแดนศักดิ์สิทธิจากชาวมุสลิม พวกเขาพยายามค้นหาอาณาจักรแห่งนี้ หากแต่ไม่พบ แต่เชื่อกันว่าดินแดนแห่งที่ว่าน่าจะเป็น อินเดีย หรือไม่ก็เอธิโอเปีย หรือจะอยู่ในอบิสซิเนีย

music and Ballet

ดนตรีและบัลเลต์
ในยุคโรแมนติกต้นศตวรรษที่ 19  มีการใช้เพลงพื้นบ้านเข้ามาเป็นส่วนประกอบในการประพันธ์เพลง 
เช่น ลิสท์ (Franz Liszt) ได้ใช้ทำนองเพลงจากฮังการีในดนตรีของท่าน เช่นผลงานเพลงเปียโนชุด Hungarian Rhapsodies ในยุคนั้น ดนตรีคลาสสิกมักนิยมประพันธ์ในแนวทางซิมโฟนีแบบเยอรมัน  บัลเลต์แบบฝรั่งเศส  และโอเปร่าแบบอิตาเลี่ยน  ศิลปินหลายท่านเริ่มหันมาสนใจการสร้างดนตรีเพื่อแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติตนมากขึ้น  เช่น เบดริก สเมทาน่า (Bedrich Smetana) ได้สร้างดนตรีแนวทางชาตินิยมของประเทศเช็ค ซึ่งเรียกกันว่าแคว้นโบฮีเมีย (Bohemia) ในสมัยนั้น
 เซซาร์ คุอิ (หรือ คุย) นับว่าเป็นสมาชิกในกลุ่ม Mighty 5 ที่เป็นที่รู้จักน้อยที่สุด จริงๆ ท่านประพันธ์ผลงานไว้มากมาย แต่ไม่ได้รับความนิยมมากนักในปัจจุบัน ท่านมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาดนตรีแบบชาตินิยมรัสเซีย เพราะท่านเป็นนักเขียนนักวิจารณ์ ทำให้ผลงานของกลุ่มเป็นที่แพร่หลายออกไป
Theatre in ancient Greece.
Painting of ballet dancers by Edgar Degas, 1872.
The Georgia Ballet presents
The Firebird
เมื่อ ทิศทางการพัฒนาของบัลเลต์ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ถึง 20 มุ่งหน้าไปเช่นนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ความเฟื่องฟูของบัลเลต์ในภายหลังจะมามีศูนย์กลาง อยู่ที่รัสเซีย โดยเฉพาะเมื่อมี 3 ทหารเสือ อย่าง มาริอุส เปติปา เลฟ อีวานอฟ และเพเทอร์ ไชคอฟสกี ซึ่งช่วยกันแต่ง Swan Lake (1895) จนกลายเป็นบัลเลต์เรื่องดังที่สุดในโลก
ขณะ เดียวกันบัลเลต์ในประเทศรัสเซียเองก็พัฒนาไปภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ นักแสดงมากความสามารถหลายคนยังคงอยู่ในประเทศ และมีการพัฒนาเด็กรุ่นใหม่ๆ ขึ้น บัลเลต์เป็นสิ่งที่แพร่หลายมากในรัสเซีย แม้ว่าจะอยู่ภายใต้การปกครองแบบคอมมิวนิสต์ ยังมีการตั้งคณะบัลเลต์ชื่อดังมากมาย ตั้งแต่คณะบอลชอย (มอสโก) คณะคีรอฟ (เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก) ฯลฯ โดยนอกจากบัลเลต์เรื่องคลาสสิกๆ ที่ยังแสดงกันอยู่แล้ว ยังมีการนำวรรณกรรมหลายเรื่องมาเขียนเป็นบทบัลเลต์ เรื่องที่ดังๆ ก็คือ Romeo and Juliet และ Cinderella

ในประเทศรัสเซีย  มิคาอิล กลินคา (Mikhail Glinka, 1804-1847) ซึ่งได้รับการศึกษาทางด้านดนตรีในแนวทางของเยอรมัน-ฝรั่งเศส   เริ่มเห็นความสำคัญของการสร้างดนตรีในแนวทางที่เป็นเอกลักษณ์ของรัสเซียเอง  จึงเปลี่ยนแปลงแนวทางการประพันธ์เพลงโดยใช้ทำนองจากเพลงพื้นบ้าน และนิทานปรัมปราของรัสเซียเป็นเค้าโครงในการประพันธ์เพลงโอเปร่า
ต่อมา มิลิ บาลาคิเรฟ (Mily Balakirev, 1837-1910) รับแนวความคิดเรื่องดนตรีชาตินิยมรัสเซียมาจากกลินคา  และเริ่มหาสมัครพรรคพวกจนตั้งเป็นกลุ่ม เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ทางดนตรีกัน โดยมีเขาเป็นหัวหน้ากลุ่ม  นักดนตรีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย บาลาคิเรฟ, เซซาร์ คุย (Cesar Cui, 1835-1908), โมเดสต์ มูซอร์กสกี้ (Modest Mussorgsky, 1839-1881), นิโคไล  ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ (Nikolai Rimsky-Korsakov, 1844-1908) และ อเลกซานเดอร์ โบโรดิน (Alexander Borodin, 1833-1887)   แต่ละคนในกลุ่มนี้เป็นนักดนตรีสมัครเล่นทั้งนั้น  ไม่มีใครได้รับการศึกษาทางดนตรีอย่างเป็นแบบแผน  นั่นอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเขาสามารถแต่งเพลงขึ้นมาในแนวทางใหม่ ที่แหวกแนวไปจากระเบียบแบบแผนเดิมของทางยุโรป
ในกลุ่มนี้ มูซอร์กสกี้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่มีความคิดทางดนตรีที่ก้าวไกลกว่าท่านอื่น  บทเพลงของท่านหลายบทกลายเป็นสัญลักษณ์ของดนตรีแบบรัสเซีย  แต่ว่าในช่วงปลายชีวิตท่านติดเหล้ามาก และมีอาการทางประสาทจนไม่สามารถเขียนงานได้สำเร็จ ทิ้งไว้ให้เพื่อนร่วมกลุ่มอย่าง ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ ประพันธ์ต่อหรือเรียบเรียงจนเสร็จ    ผลงานที่มีชื่อเสียงของท่าน ได้แก่  Pictures at an Exhibition ซึ่งประพันธ์ไว้สำหรับเดี่ยวเปียโน และต่อมาได้รับการเรียบเรียงสำหรับบรรเลงด้วยวงออร์เคสตร้าโดย โมริส ราเวล (Maurice Ravel) ซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส, A night on Bald Mountain และอุปรากรเรื่อง โบริส กูดานอฟ (Boris Gudanov)  อเล็กซานเดอร์ โบโรดิน (Alexander Borodin, 1833-1887) เข้าเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของกลุ่ม Mighty 5 ซึ่งได้รับการแนะนำให้เข้ากลุ่มโดยมูซอร์กสกี้ ในปี 1862  โบโรดินเป็นนักดนตรีสมัครเล่น มีอาชีพหลักเป็นหมอและนักเคมี ผลงานสำคัญในสายอาชีพของท่านคือการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์สำหรับสตรี ส่วนผลงานทางด้านดนตรีของท่านมีไม่มาก และใช้เวลายาวนานในการประพันธ์ผลงานแต่ละชิ้น บางชิ้นก็ไม่เสร็จในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ผลงานที่เด่นๆ ของท่านได้แก่ อุปรากรเรื่อง Prince Igor ที่มีเพลง Polovtsian Dances อันมีชื่อเสียงและมีผู้เอาไปใส่เนื้อร้องจนกลายเป็นเพลง "Stranger in Paradise", บทประพันธ์ symphonic poem เรื่อง In the Steppes of Central Asia ซึ่งมีกลิ่นอายแบบตะวันออก, และ String Quartet No.2 ที่มีทำนองไพเราะจนมีผู้นำไปประพันธ์เป็นละครบรอดเวย์เรื่อง Kismet  ท่านประพันธ์ซิมโฟนีไว้ 3 บท ซึ่งสะท้อนถึงดนตรีแบบชาตินิยมรัสเซียไว้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่า นิโคไล  ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ (Nikolai Rimsky-Korsakov, 1844-1908) อาจจะไม่ใช่บุคคลที่สำคัญที่สุดในกลุ่ม Mighty 5 และบางคนยังถือว่าท่านมีความสามารถน้อยที่สุดในกลุ่ม แต่ท่านมีผลงานการประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงและยังมีส่วนสำคัญในการนำผลงานของคนอื่นที่แต่งค้างไว้ มาแต่งหรือเรียบเรียงต่อจนเสร็จสมบูรณ์  ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ รับราชการเป็นทหารเรือในช่วงปี 1856-1862 ที่เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก ก่อนจะพบกับบาราคิเรฟ ซึ่งสนับสนุนให้ ริมสกี้-คอร์ซาคอฟ แต่งเพลงซิมโฟนีบทแรก แต่ท่านใช้เวลาถึง 3 ปีบนเรือรบถึงได้ประพันธ์จนจบ ในปี 1871 ท่านได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์ที่สถาบันดนตรีชื่อ St.Petersburg conservatory ตอนแรกท่านลังเลไม่อยากรับตำแหน่ง เพราะท่านเองก็ไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับดนตรี แต่บาราคิเรฟสนับสนุนให้รับตำแหน่งเพื่อที่จะได้ขยายอิทธิพลของกลุ่มออกไป ท่านเองต้องศึกษาล่วงหน้านักเรียนเพื่อจะได้มีความรู้ไปสอน และทำตัวเหมือนว่ารู้จริงในระหว่างนั้น จนในที่สุดท่านก็เรียนรู้จนแตกฉาน มีความรู้ทางทฤษฎีดนตรีอย่างดี  ท่านมีชื่อเสียงทางด้านการสอน (เคยเป็นครูสอน Stravinsky) การควบคุมวง และการประพันธ์ ท่านมักได้แรงบันดาลใจจากเพลงและตำนานพื้นบ้านมาประพันธ์เพลง
ผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของท่าน คงไม่พ้นบทประพันธ์ symphonic poem เรื่อง เชอเฮราซาด (Scheherazade) เจ้าหญิงในเรื่องอาหรับพันหนึ่งราตรี ที่เล่านิทานหลอกล่อให้กษัตริย์ติดใจคืนแล้วคืนเล่า เพื่อที่จะได้ไมฆ่านางทิ้ง  ผลงานที่มีชื่อเสียงรองมาคือ Capriccio Espagnol ซึ่งมีสำเนียงดนตรีและสีสันแบบสเปน แต่คนส่วนใหญ่อาจรู้จักท่านจากเพลงสั้นๆ ชื่อ Flight of the Bumble Bee จากอุปรากรเรื่อง Tsar Saltan ที่เป็นเสียงผึ้งบินหึ่งๆ  หัวหน้ากลุ่ม Mighty 5 ได้แก่ มิลิ บาราคิเรฟ (Mily Balakirev) ท่านเหมาะสมกับตำแหน่งหัวหน้ากลุ่ม เพราะท่านคอยส่งเสริมและสนับสนุนสมาชิกในกลุ่มให้เขียนเพลง  นอกจากนี้ท่านยังส่งเสริมให้กำลังใจไชคอฟสกี้ให้ผลิตผลงานออกมาอีกด้วย ท่านมีบทบาทเป็นครูให้กับสมาชิกในกลุ่มโดยเฉพาะโบโรดิน  แต่วิธีการสอนของท่านค่อนข้างเป็นเผด็จการ เพราะทุกอย่างต้องเป็นไปอย่างใจ ในช่วงหลังท่านคลายความสนใจจากการประพันธ์ดนตรี จึงทำให้กลุ่มสลายตัวไปในที่สุด ผลงานการประพันธ์ของท่านไม่ได้รับความนิยมแพร่หลายเหมือนอย่างอีกสามท่านข้างบน 
บัลเลต์
ศิลปะการแสดงสุดคลาสสิกอันเก่าแก่และสวยงาม บัลเล่ต์มีต้นกำเนิดเป็นการแสดงในราชสำนักอิตาลีตั้งแต่ยุคเรอเนซองซ์ (ศตวรรษที่ 15) ทว่ามามีพัฒนาการจนมีหน้าตาเหมือนบัลเลต์ในปัจจุบันที่ฝรั่งเศส และกลายเป็นการแสดงที่แพร่หลายในรัสเซีย ก่อนที่ภายหลังจะมีการเติบโตไปในอีกรูปแบบหนึ่งที่อเมริกา บัลเลต์มีพัฒนาการมากมายต่างไปจากจุดเริ่มในอิตาลี ในยุคของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศส หรือในศตวรรษที่ 17 ซึ่งได้สร้างรูปแบบที่เป็นรากฐานของบัลเลต์คลาสสิกในปัจจุบัน กระทั่งราวปี 1850 ความรุ่งเรืองของบัลเลต์ย้ายวิกไปยังเดนมาร์กและรุ่งโรจน์สุดๆ ที่รัสเซีย จนเรียกได้ว่ากลายเป็นอาณาจักรของนักระบำปลายเท้าไปเลย
จาก ‘บัลโย’ สู่ ‘บัลเลต์’
    บัลเลต์ น่าจะมีรากศัพท์จาก บัลเยเร (Ballere) ในภาษาละตินแปลว่า เต้น เกิดขึ้นอย่างบังเอิญในงานแต่งงานของชนชั้นสูงในอิตาลี ที่นักดนตรีเพียงต้องการมอบความบันเทิงให้แขกผู้มาร่วมงานเท่านั้น ก็เลย “เต้น” (“บัลโย”– Ballo ภาษาอิตาเลียนแปลว่า เต้น) ให้ชมกัน ภายหลังคณะนักเต้นประจำราชสำนักฝรั่งเศสเห็นว่า เป็นการแสดงที่น่าจะมอบความบันเทิงให้ผู้ชมได้ จึงคิดว่าน่าจะมีดนตรี บทพูด บทร้อง ท่วงท่า รวมทั้งการออกแบบเสื้อผ้าที่เหมาะสมกับเรื่องราว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อคาเทรีน เด เมดิซี หญิงสาวอิตาเลียนจากตระกูลสูงผู้หลงใหลในศิลปะ ได้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายเฮนรีที่ 2 ของฝรั่งเศส พระนางก็ทรงผลักดัน รวมทั้งประธานทุนช่วยเหลือในการพัฒนา “บัลโย” สู่ “บัลเลต์” ด้วย บัลเลต์สมัยเรอเนสซองซ์ในอิตาลีห่างไกลจากบัลเลต์ที่เราเห็นในทุกวันนี้ นัก กระโปรงสุ่มสั้นๆ กับรองเท้าบัลเลต์ก็ยังไม่เกิดขึ้นในยุคนั้น นักเต้นยังคงสวมใส่กระโปรงสุ่มแบบที่ปิดคลุมถึงข้อเท้าเช่นที่ผู้หญิงทั่วๆ ไปสวมใส่กัน
ศตวรรษ 17 รากฐานบัลเลต์
    เวลาผ่านไปถึง 2 ศตวรรษ จึงเกิดการปฏิวัติในบัลเลต์ขึ้นที่ฝรั่งเศส อย่างที่เรียกว่าเปลี่ยนรูปแบบไปจากจุดเริ่มต้น อาจเนื่องเพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระราชหฤทัยเป็นพิเศษในศิลปะการแสดง รวมทั้งต้องการสร้างมาตรฐานใหม่ๆ ขึ้น ในปี 1661 พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 โปรดฯ ให้ก่อตั้งสถาบันการระบำ หรืออะคาเดมี รัวยาล เดอ ลา ดองส์ (Academie Royale de la Danse ปัจจุบันคือ ปารีส โอเปรา บัลเลต์-Paris Opera Ballet) พร้อมๆ กันนั้น ท่าพื้นฐานของบัลเลต์คลาสสิก 5 ท่วงท่าก็ได้รับการบัญญัติขึ้น
    อง-บัปติสต์ ลุลยี นักแต่งเพลงชาวอิตาเลียนที่ทำงานรับใช้ราชสำนักฝรั่งเศส มีบทบาทอย่างมากในการพัฒนาดนตรีสำหรับบัลเลต์ตลอดศตวรรษต่อมา เขาเป็นอีกคนที่ได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยความที่เขาเป็นนักเต้นเองด้วย ทำให้มีความเข้าใจในท่วงท่า และแต่งเพลงสนับสนุนความเคลื่อนไหวของนักเต้นได้เป็นอย่างดี
    เขาทำงานร่วมกับอง-บัปติสต์ โปเกอแลง นักเขียนบทละครเจ้าของนามปากกา โมลิแยร์ ทั้งคู่นำเอาสไตล์การละครแบบอิตาลี ทั้งสุขและโศกนาฏกรรมมาผสมผสานกันกลายเป็นบัลเลต์สนุกๆ ให้คนฝรั่งเศสชม โดยมีบัลเลต์เรื่องดัง อย่าง Le Bourgeois Gentilhomme (1670) อง-บัปติสต์ ลุลยี ยังเป็นผู้กำกับคนแรกของโรงละครแห่งสถาบันรัวยาล เดอ มูซิก (Royale de Musique) ซึ่งนับเป็นสถาบันที่เป็นรากฐานของดนตรีบัลเลต์
    การเรียนการสอนบัลเลต์อย่างจริงๆ จังๆ ก็เริ่มต้นขึ้นที่ฝรั่งเศสนี่เอง นั่นทำให้ชื่อเรียกท่วงท่าต่างๆ ของบัลเลต์ส่วนใหญ่จึงมีชื่อเรียกเป็นภาษาฝรั่งเศส ไม่ว่านักเต้นจะเข้าใจภาษาฝรั่งเศสหรือไม่ แต่พวกเขาก็จะรู้กันหากเอ่ยคำนี้ขึ้นมาจะหมายความถึงอะไร ไม่ว่าจะเป็น ออง เดอดองส์ (En dedans) ปอร์กต์ เดอ บราส์ (Port de bras) โซต์ เดอ ชาต์ (Saut de chat) ตูร์ ซอง แลร์ (Tours en l’air) ตงเบ (Tombe) ฯลฯ
Classical ballet
ศตวรรษ 18 เติมเต็มศิลปะ
ศตวรรษ ต่อมา นอกจากบัลเลต์ในฝรั่งเศสจะมีรากฐานที่เข้มแข็งแล้ว ยังเริ่มมีการพัฒนาเทคนิคต่างๆ มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเติมเต็มความคิดทางศิลปะเข้าไป ด้วยการนำเรื่องราวแบบโอเปรามาถ่ายทอดด้วยการเต้นและการเคลื่อนไหวแบบบัลเล ต์ โดยนอกจากนักแสดงจะต้องเต้นท่าบัลเลต์เก่งแล้ว ยังต้องสามารถถ่ายทอดคาแรกเตอร์ของตัวละครตามบทบาทต่างๆ ได้อีกด้วย
การ ปฏิวัติวงการบัลเลต์ไปในรูปแบบดังกล่าว เห็นเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจนในศตวรรษต่อๆ มา การแสดงเป็นเรื่องราวมีตัวเอก ตัวรอง ทำให้มีการแจ้งเกิดนักแสดงบัลเลต์มากมาย โดยเฉพาะนักแสดงหญิงที่พัฒนาเทคนิคในการเต้นเฉพาะของตัวเองจนกลายเป็นดาว เด่น อย่าง แจนวิแยฟ กอสเซอแลง มารี ตาโกลนี และแฟนนี เอลสเลอร์ ที่ได้ช่วยกันพัฒนาเทคนิคการเต้นแบบพอยต์เท้า (อันเป็นที่มาของคำเรียก “ระบำปลายเท้า”) ซึ่งกลายเป็นเอกลักษณ์ของการเต้นบัลเลต์ในปัจจุบัน ทั้งยังมีการพัฒนารองเท้าบัลเลต์ชนิดที่มีส่วนหัวเป็นโฟม เพื่อความง่ายในการเต้นด้วยปลายเท้านั่นเอง
ด้วยความโดดเด่นของนักบัล เลต์หญิง ทำให้เรื่องราวที่นิยมในการนำมาสร้างสรรค์เป็นการแสดงบัลเลต์ จึงเป็นเรื่องราวแนวโรแมนติก โดยเฉพาะเนื้อหาจากเทพนิยายต่างๆ ซึ่งส่งผลถึงการออกแบบท่าเต้นให้มีการหมุนตัว กระโดดสูง กระโดดแยกขา รวมทั้งการจัดวางท่วงท่าวงแขนและร่างกายให้ได้อารมณ์อันซาบซึ้ง เรื่อง La Sylphide นับเป็นโรแมนติกบัลเลต์เรื่องแรกๆ และยังได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้
ยุคทองของบัลเลต์
มาริอุส ซึ่งเป็นนักออกแบบท่าเต้น ยังร่วมงานกับเพเทอร์ ไชคอฟสกีในบัลเลต์เรื่องดังๆ ของโลก อย่าง The Nutcracker (1892) และ The Sleeping Beauty (1890) ซึ่งนับว่าเป็นยุคทองของรัสเซียทีเดียว
จาก เรื่อง Swan Lake นี่เองทำให้เกิดกระโปรงสั้น ที่เรียกว่า ตูตู้ (Tutu) อย่างที่เราเห็นทั้งหงส์ขาวหงส์ดำในเรื่องดังกล่าวสวมใส่ ภายหลังกลายเป็นกระโปรงที่สวมกันในนักเต้นบัลเลต์ทั่วไป
บัลเลต์รัส เซียมียุคทองอยู่ได้ไม่นานก็เกิดการปฏิวัติในรัสเซีย ทั้งนักแต่งเพลง นักออกแบบท่าเต้น และนักแสดงจำนวนมากพากันอพยพออกนอกประเทศ โดยเฉพาะการอพยพมาจุดกำเนิดของบัลเลต์คลาสสิก อย่าง ฝรั่งเศส ของเซอร์เก ดิอากิเลฟ ที่มาเปิดบริษัท บัลเลต์รัสเซีย (Ballets Russes) ในกรุงปารีส อันเป็นศูนย์กลางของบัลเลต์รัสเซียหลังจากปฏิวัติบอลเชวิกส์
โดยส่วนใหญ่ บัลเลต์ในปัจจุบันก็มักจะไม่ทิ้งเรื่องราวคลาสสิกเดิมๆ ที่มีการสร้างสรรค์เอาไว้แล้วตั้งแต่สมัยยุคทองของรัสเซีย การชมบัลเลต์ที่สวยงามจึงมักตัดสินกันที่ความสามารถของนักแสดงตัวเอกเป็น หลัก ว่าจะถ่ายทอดท่วงท่า ลีลา และอารมณ์ที่เป็นจุดเด่นของบัลเลต์แต่ละเรื่องออกมาได้โดดเด่นขนาดไหน
ขณะ ที่ในส่วนของศิลปินบัลเลต์มากมายที่หลั่งไหลมาสู่ฝรั่งเศสหลังการปฏวัติรัส เซีย ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจข้ามน้ำไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งนับเป็นพัฒนาการในบัลเลต์ครั้งใหญ่อีกหน ไปสู่ยุคของนีโอคลาสสิกบัลเลต์ ก่อนจะเปลี่ยนรูปแบบตามการสร้างสรรค์ของศิลปินไปเป็นบัลเลต์ร่วมสมัย (Contemporary Ballet)